ME ME ^^"

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อควรสนใจทั่วไปสำหรับพนักงาน

ที่กล่าวมาแล้วเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาภาพลักษณ์ภายนอก ต่อไปนี้จะพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งภายใน อันหมายถึงสีหน้าท่าทาง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบอกให้ผู้อื่นทราบถึงภูมิรู้ ความเชื่อมั่นในตนเองของพนักงาน และมีผลต่อการทำงานบริหารเป็นอย่างมาก

1. สุภาพอ่อนน้อม

เมื่อพูดถึงการทำตัวให้สุภาพแล้วดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย แต่การทำตัวให้สุภาพอ่อนน้อมอย่างแท้จริง ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ก่อนอื่นเริ่มต้นจากสามสิ่ง อันได้แก่ การโค้งคำนับให้ถูกต้อง การกล่าวคำทักทายและการแสดงความขอบคุณต่อแขก การพูดทักทายที่ถูกต้อง ควรจะกระทำพร้อมกับการมองตาแขก และยิ้มเล็กน้อย (ต่อ ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่โรงแรมอื่นก็เช่นเดียวกัน)

2. ยิ้มแย้มแจ่มใส

เรามักจะพูดกันเสมอว่า "ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ" คำพูดนี้หมายถึงว่าอย่างไร ทุกคนคงจะเข้าใจดี พนักงานหนุ่มสาวบางคนเมื่อไม่พอใจแขกที่มาพักก็จะแสดงออกมาทางสีหน้าอย่างเห็นได้ชัด เมื่อคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่แล้วในการยิ้มแย้มอยู่เสมอแม้ว่าบางครั้งแขกจะปฏิบัติต่อตนไม่ดี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความประทับใจต่อโรงแรม

3. บริการให้ดีที่สุด

ควรจะศึกษาเอาแบบอย่างพนักงานที่ต้องรับแขกอย่างขยันขันแข็ง และมีประสบการณ์ในการทำงาน คนเราทุกคนไม่ชอบให้ใครมาเหยียดหยาม การเลือกปฏิบัติต่อแขกจึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง พนักงานบริการไม่ควรเลือกเอาใจใส่เฉพาะแขกสาวสวย แต่ละเลยคนแก่ หรือเอาใจใส่แต่ฝรั่ง ไม่สนใจคนเอเชีย พนักงานต้องยึดหลักการในการทำงานที่ว่า " ผู้ที่มาก่อนได้รับการบริการก่อน" (FIRST COME FIRST SERVICED BASIS)

สำหรับพนักงานซึ่งต้องทำงานบริการคนจำนวนมาก จะต้องคิดเสมอว่าแขกต้องการ การบริการเช่นไร ต้องเรียนรู้จิตวิทยาของแขก ขณะเดียวกันยังต้องรู้จักใช้หัวคิด มีไหวพริบและคล่องแคล่วว่องไว การถามเซ้าซี้อาจทำให้แขกรำคาญและยิ่งไม่ถูกต้องถ้าการบริการไม่ทันและขาดตกบกพร่อง สำหรับแขกที่มีธุระด่วนพนักงานบริการจะต้องให้บริการอย่างฉับไว และยืดหยุ่นให้ สอดคล้องกับความต้องการแขก นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

4. ให้บริการที่รวดเร็วและแม่นยำ

พนักงานบริการจำเป็นต้องรู้ว่าแขกสั่งอาหารอะไร และต้องการอะไรเพิ่ม พยายามบริการอย่างรวดเร็ว ถ้ามีเหตุจำเป็นที่จะทำให้แขกต้องรอก็ควรจะอธิบายให้แขกเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน เช่น บอกว่า "อาจจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ …. นาที" ถ้าหากไม่สามารถเสิร์ฟอาหารได้ทันทีก็ต้องขอโทษ

5. รักษาทรัพย์สินของโรงแรม

กิจการโรงแรมมีลักษณะพิเศษที่เงินทุนส่วนใหญ่จะใช้ในเรื่องที่ดิน สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ และของใช้ประจำวัน การรักษาทรัพย์สินเหล่านี้ไม่ใช่เพียงเพื่อโรงแรมเท่านั้น ยังหมายถึงผลประโยชน์ของพนักงานทุกคนด้วย
การปฏิบัติตนของพนักงานโรงแรม

1. ผม

พนักงานชาย ไม่ควรไว้ผมยาว ต้องหวีผมให้เรียบร้อย อย่าให้มีรังแคหล่นตามไหล่ ไม่ควรไว้จอนผมยาวเกินไปแม้จะมีแฟชั่นผมยาวก็ไม่ควรไว้ พนักงานโรงแรมจะต้องทำตนให้แลดูสะอาดและสวยงามอยู่เสมอ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับบริหารยิ่งจะต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง พนักงานหญิง จะต้องระวังไม่ให้เส้นผมหรือรังแคติดตามตัว ไม่หวีผมต่อหน้าผู้อื่น หรือปล่อยให้ผมยุ่ง โดยทั่วไปแล้วไม่ควรย้อมผมเพราะสีผมตามธรรมชาติจะดูมีเสน่ห์น่าดูกว่า

2. ใบหน้า

ไม่ว่าพนักงานหญิงหรือชาย จะต้องระวังรักษาความสะอาดของใบหน้า ผิวพรรณ เปล่งปลั่ง อารมณ์แจ่มใส เกิดขึ้นได้เพราะสุขภาพแข็งแรง และรับประทานอาหารถูกหลักโภชนา การ พนักงานชายไม่ควรไว้หนวด รักษาอนามัยในช่องปากให้ดี อย่าให้มีกลิ่นปาก พนักงานหญิงควร แต่งหน้าบาง ๆ หากแต่งหน้าเข้มเกินไปจะทำให้เสียบุคลิก ต้องรู้จักเลือกสีของลิปสติค และใช้อย่างเหมาะสม พนักงานหญิงที่มีอายุก็ยังต้องแต่งหน้าบาง ๆ ไม่ควรงดแต่งหน้าอย่างสิ้นเชิง การใช้ อายชาโดว์ การเขียนขอบตา ควรแต่งให้เหมาะสม บางทีอาจปรึกษากับช่างเสริมสวยของโรงแรม เรื่องกลิ่นปากและกลิ่นตัวนั้น บางครั้งเจ้าตัวอาจไม่รู้ ควรจะคอยเตือนซึ่งกันและกัน ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรงอย่างหัวหอม กระเทียม ในช่วงก่อนและระหว่างการทำงาน ระหว่างการเข้าเวรไม่ควรใช้เครื่องประดับที่หรูหราราคาแพงอย่าง ต่างหู แหวน กำไล หรือสร้อยคอ การใช้เครื่องประดับที่มีความหมายเป็นพิเศษอย่างแหวนแต่งงาน หรือของที่ระลึก ควรขออนุญาตหัวหน้าก่อน ตามหลักทั่วไปแล้วทางโรงแรมจะไม่ให้ผู้ที่ทำงานในแผนกบริการสวมแว่นตา หรือ หากจำเป็นจริง ๆ ไม่ให้ใช้แว่นกระจกสี

3. เครื่องแบบ

รักษาเครื่องแบบของโรงแรมให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ และใส่เข้าเวรตามระเบียบ แขกจะรู้ว่าพนักงานของโรงแรมเป็นอย่างไรก็ดูจากเครื่องแบบที่สวมใส่ ก็เช่นเดียวกับที่พนักงานทราบถึงรสนิยมและนิสัยใจคอของแขกที่มาพัก โดยดูจากการแต่งตัวของแขกนั่นเอง เสื้อผ้าจะต้องรีดให้เรียบร้อย ปัดให้สะอาดอยู่เสมอ เครื่องแบบของโรงแรมอาจจะไม่ทันสมัย แต่พนักงานของโรงแรมต้องสวมใส่ให้ เหมือน ๆ กัน จึงต้องห้ามไม่ให้แก้ไขดัดแปลงเครื่องแบบของตนตามใจชอบ การสวมเครื่องแบบที่เหมือนกันจะทำให้แลดูเป็นระเบียบ มีเอกลักษณ์เฉพาะ บางคนอาจรู้สึกว่าการใส่เครื่องแบบจะทำให้ดูขัดเขิน แต่แขกที่มาพักจะไม่คิดเช่นนั้น ตรงกันข้ามแขกกลับจะรู้สึกขัดหูขัดตากับพนักงานที่ใส่กางเกงขาลีบ หรือคับรัดรูปมาทำงาน

4. เสื้อและอื่น ๆ

ถ้าหากคอเสื้อของพนักงานแผนกอาหารประจำโรงแรมดูสกปรกอย่างเห็นได้ชัด จะทำให้พลอยรู้สึกว่าอาหารก็คงไม่สะอาดไปด้วย เพราะฉะนั้นจะต้องจำไว้ว่าความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยทั่วไปทางโรงแรมจะจ่ายเครื่องแบบให้คนละสองสามชุดเท่านั้น จะใช้ข้ออ้างที่ว่าเครื่องแบบมีน้อย ซักรีดไม่ทันไม่ได้ เพราะจะเป็นผลเสียต่อตนเอง จะต้องรักษาความสะอาดของคอเสื้อและแขนเสื้อให้ดี เน็คไทต้องไม่สกปรกเปรอะเปื้อน นอกจากนี้พนักงานทั่วไปหากใส่เสื้อผ้าที่ดูเรียบร้อย ไม่มีลวดลาย ใช้สีสันกลมกลืนกันจะดีกว่าใส่เสื้อผ้าที่หรูหราเกินไป พนักงานในห้องอาหาร ห้องจัดเลี้ยง จะได้รับแจกหูกระต่าย ควรใช้ตามกำหนดไว้ ป้ายชื่อจะต้องติดไว้ในตำแหน่งที่กำหนด พนักงานทุกคนควรจะรู้สึกภูมิใจในชื่อของตนเอง และควรรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ติดป้ายชื่อ คงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากหากรู้สึกอับอาย หรือไม่อยากติดป้ายชื่อตัวเอง

5. ถุงเท้า

พนักงานชายต้องใช้ถุงเท้าสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม ไม่ควรใช้ถุงเท้าบางหรือถุงเท้าที่แพง หรูเกินไป และต้องเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน พนักงานหญิงควรใส่ถุงน่อง โดยใช้สีตามที่กำหนด นอกจากนี้จะต้องไม่ให้กระโปรงชั้นในโผล่พ้นชายกระโปรงออกมา พนักงานหญิงอาจต้องใช้หมวกขลิบลูกไม้ และผ้ากันเปื้อน ให้ถูกต้องตามระเบียบและต้องรักษาความสะอาดเสมอ

6. อื่น ๆ

พนักงานหญิงจะใช้ยาทาเล็บได้ก็เฉพาะชนิดที่ไม่มีสีหรือชนิดใส สีไม่ฉูดฉาด และเมื่อใช้แล้วก็ควรรักษาให้ดี ไม่ปล่อยให้สีลอกหลุดหรือซีดจาง เจ้าหน้าที่โรงแรมทุกคนจะต้องสวมรองเท้าที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วเป็นประจำ นอกจากบางแผนกทั่วไปควรสวมรองเท้าสีดำแบบธรรมดา ห้ามใช้รองเท้าสีชา สีแดง หรือ สีเทา จะเห็นได้ว่าการเป็นพนักงานโรงแรมนั้นไม่มีอิสระเลย ยิ่งเป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง มีระดับ แล้วยิ่งเข้มงวดเรื่องเครื่องแต่งกาย และการปฏิบัติตัวของพนักงานเป็นพิเศษ ผู้ที่ไม่เคยชิน อาจรู้สึกไม่ชอบระเบียบกฎเกณฑ์เหล่านี้ แต่ทั่วไปแล้วเมื่อทำงานไปได้สักหนึ่งถึงสองปีก็จะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และมักพูดอวดกฎระเบียบเหล่านี้ให้ผู้อื่นรับรู้ กฎระเบียบเหล่านี้ดูผิวเผินอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญอะไร แต่ความเป็นจริงก็คือการให้ความสำคัญต่อการรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของตน นั้นเอง

นอกจากนี้โรงแรมโดยทั่วไปจะมีระเบียบกำหนดเครื่องแบบให้พนักงานสวมใส่ในเวลางาน ซึ่งมักจะเป็นสีขาวเหมือนกันหมด แต่โรงแรมบางแห่งในสหรัฐอเมริกา เช่น เจ้าหน้าที่ประจำออฟฟิศ จะสวมเสื้อเชิ้ตสีต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา และส่วนใหญ่มักจะเป็นเสื้อผ้า ที่ตนชอบ เชื่อว่าต่อไปคงจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปตามแนวนี้ ในเรื่องนาฬิกาก็มีข้อควรสนใจบางประการ บางทีแขกที่มาพักอาจใส่นาฬิกาญี่ปุ่นอย่างไซโก้ ซิติเซ็น ฯลฯ ในขณะที่พนักงานโรงแรมกลับใส่นาฬิกาโรเล็กซ์ ดังนั้นในคู่มือการทำงาน โรงแรมบางแห่งจึงระบุให้พนักงานใช้ของใช้ที่พื้น ๆ หากจะใช้ของที่แพงกว่าแขกทั่วไปก็ตาม ต้องไม่ใช้อย่างเปิดเผย สรุปก็คือไม่ว่าโรงแรมจะหรูหราและทันสมัยเพียงไร แต่การทำให้แขกได้พักในสภาพแวดล้อมที่ดีเยี่ยมนั้น อยู่ที่การอบรมพนักงานให้รู้จักหน้าที่ของตน
จิตใจในการบริการของพนักงาน

ในการอบรมด้านการบริการให้แก่พนักงานนั้น โรงแรมที่มีระดับจะเน้นในเรื่องของ " จิตใจในการบริการ" เป็นพิเศษ โรงแรมบางแห่งจะอบรมจิตใจในการบริการโดยการให้พนักงานอยู่ร่วมกันในหอพัก หากจะทำงานบริการมีความสำคัญยิ่งกว่าเทคนิคในการบริการเสียอีก น้ำใจไมตรีเล็ก ๆ น้อย ๆ จากคนแปลกหน้าที่ได้รับในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว ต่างถิ่นต่างแดน เป็นสิ่งที่น่าประทับใจยิ่ง ฉะนั้นการอบรมให้พนักงานมีจิตใจในการบริการจึงควรมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

แขกมักจะพูดกับพนักงานที่ยกของให้ว่า "เหนื่อยหน่อยนะ" แทนที่จะกล่าวกับ พนักงานบริการด้านธุรการ ทั้งนี้เพราะการทำงานของพนักงานยกของจะทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีความจริงใจ ทำให้รู้สึกประทับใจมากกว่า พึงระลึกเสมอว่าตราบใดที่จะทำงานอยู่จะละทิ้งจิตใจในการบริการไม่ได้เป็นอันขาด

การบริการที่ดีเยี่ยมเกิดจากจิตใจในการบริการร่วมกับการฝึกฝนเทคนิคในการบริการ ที่ว่าจิตใจในการบริการหมายถึง

1. ทำตนให้สนุกกับงานบริการ

ไม่ว่าจะเข้ามาทำงานในโรงแรมหรือภัตตาคารด้วยความบังเอิญหรือตั้งใจก็ตาม เมื่อคิดจะยึดอาชีพนี้ตลอดไปก็ต้องทำตนให้สนุกกับงานดังกล่าว

2. แขกคือพระราชา พนักงานคือคนรับใช้

พนักงานบริการในโรงแรมจะต้องจดจำไว้เสมอว่า "แขกคือพระราชา" ความคิดที่ว่าแขกก็คือคนเราเองก็เป็นคน เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความสับสนระหว่างการเป็นแขกกับพนักงานบริการ "แขกจะต้องถูกต้องเสมอ" เป็นความคิดที่ถูกต้องในการให้บริการของพนักงานโรงแรม ในแต่ละวันจะต้องพบแขกจากทั่งสารทุกสารทิศ บางครั้งก็ยากที่จะเลี่ยงปัญหาความวุ่นวาย สับสนที่น่าปวดหัว แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมกฎที่ว่า "แขกจะต้องถูกต้องเสมอ"

3. ซื่อสัตย์มีน้ำใสใจจริง

การทำธุรกิจใด ๆ ก็ตามถ้าหากไม่มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าแล้ว ถึงแม้ว่าธุรกิจนั้น จะไปได้ดีในระยะแรกแต่ก็ไม่อาจยืนยาวไปได้ตลอด เพราะในที่สุดก็จะเสียลูกค้าไป ยกตัวอย่างเช่น กิจการขายสินค้าพื้นเมืองตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ถ้าหากสินค้านั้นน้ำหนักไม่ครบถ้วนหรือคุณภาพไม่ดี แม้ว่าจะขายดีในระยะแรกแต่สุดท้ายก็ต้องปิดร้านเพราะลูกค้าหายหมด แต่กิจการที่ใช้ความมุมานะเป็นเวลาหลายปีโดยยึดหลักที่ว่า "ลูกค้าสำคัญที่สุด" บวกกับการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง หรือทำอาหารที่มีรสชาติดีเยี่ยม ย่อมเจริญรุ่งเรือง ขึ้นไปเรื่อย ๆ

งานบริการของโรงแรมหรือภัตตาคารก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากเป็นกิจการที่เพียบ - พร้อม และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ย่อมประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่างเรื่องเงินค่าทิป พนักงานบริการที่ยกกระเป๋าเดินทางจนเหงื่อไหลไคลย้อย หรือวิ่งฝ่าสายฝนเพื่อเรียกรถแท็กซี่ให้แขก ย่อมจะทำให้แขกเกิดความรู้สึกอยากจะให้สินน้ำใจเป็นการตอบแทน ตรงกันข้ามถ้าพนักงานบริการทำงานอย่างขอไปที ซ้ำยังโยนเหรียญในมือไปมาเป็นการเตือนให้แขกจ่ายค่าทิป แขกย่อมไม่อยากทิปให้เลย บางคนไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการหรือพนักงานก็ตามคิดว่าแขกเป็นพวกโง่เง่า ความจริงแล้วแขกไม่ได้โง่อย่างที่คิดหรอก ถ้าหากใครก็ตามคิดว่าแขกเป็นคนโง่ สักวันหนึ่งจะต้องได้รับผลตอบแทนอย่างแน่นอน

4. จดจำชื่อและหน้าตาของแขกไว้ให้ดี


การจดจำชื่อและหน้าตาของแขกเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการบริการเพราะจะช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้น ทำให้แขกรู้สึกเป็นกันเอง และยังเป็นการแสดงน้ำใจต่อแขกด้วย นอกจากนี้การจำชื่อและใบหน้าของแขกก็เหมือนกับการบอกแขกว่า " โปรดระลึกถึงชื่อและใบหน้าของพวกเราด้วย" นับว่าเป็นวิธีที่ได้ผลยิ่ง

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

เรียนรู้คุณสมบัติและวิธีการใช้ ภาชนะอย่างถูกวิธี
ฟิล์ม ฟอยล์ โฟม เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่ใกล้ชิดกับชีวิตเราค่อนข้างมาก มีประโยชน์ในแง่การรักษาคุณภาพของอาหารทั้งก่อนและหลังการปรุงให้ปลอดภัยจากปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมที่จะทำให้คุณภาพของอาหารลดลง นอกจากนี้ยังเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดเก็บ และเอื้ออำนวยในการจัดผลิตภัณฑ์ให้ดูสวยงามอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สิ่งใดที่มากด้วยประโยชน์ก็มักจะมีจุดบอดที่ควรต้องระมัดระวัง เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภทนี้ทำขึ้น จากวัสดุสังเคราะห์ จึงมีความเป็นไปได้ที่สารเคมีจะเข้าไปปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์อาหาร โดยสาเหตุอาจเกิดจากขั้นตอน ของผู้ผลิต ซึ่งผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐาน มาจนถึงผู้บริโภคซึ่งนำไปใช้ผิดประเภท

ในแง่ของผู้ผลิตคงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงาน กรม กอง ที่เกี่ยวข้องดูแลรับผิดชอบกันไป ส่วนเราผู้บริโภคนั้น แม้จะมีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น เพื่อคุ้มครองพวกเรา แต่ในท้ายที่สุด “อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ” ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน อารัมภบทมานาน มาเริ่มเรื่องที่เราจะพูดคุยกันในวันนี้เลยดีกว่า

ฟิล์มยืด (Stretch Film)

ฟิล์มยืดเป็นฟิล์มพลาสติกที่นิยมใช้มากในการห่ออาหาร โดยชนิดของพลาสติกที่นำมาผลิตจะแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ ทำให้ฟิล์มยืดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น ถ้าเป็นฟิล์มยืด PVC จะมีคุณสมบัติที่ยอมให้ไอน้ำและออกซิเจนผ่านได้ จึงเหมาะกับการบรรจุอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์และปลาเพื่อเก็บรักษาความสดของอาหารไว้ ส่วนฟิล์มยืด PE มีคุณสมบัติไอน้ำซึมผ่านได้น้อย แต่ก๊าซซึมผ่านได้ดี หรือถ้าเป็นฟิล์มยืด PVDC ก็จะมีคุณสมบัติที่ให้ทั้งก๊าซและไอน้ำซึมผ่านได้ดี และทนอุณหภูมิสูงได้ เป็นต้น

สิ่งที่น่าเป็นกังวลสำหรับการใช้ฟิล์มยืดก็คือ สารเคมีที่อาจหลุดออกมาปนเปื้อนกับอาหาร โดยเฉพาะสารพวกพลาสติไซเซอร์ (Plasticizer) ที่ผสมเข้าไปในกระบวนการผลิตเพื่อทำให้พลาสติกอ่อนตัว ซึ่งสารบางตัวอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคเมื่อสะสมอยู่ในร่างกายถึงปริมาณหนึ่ง สารเหล่านี้จะหลุดออกมาในปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนที่ได้รับ รวมถึงปริมาณไขมันในอาหารที่มีอยู่ ยิ่งร้อนมากหรือยิ่งมีไขมันมาก ก็ยิ่งจะละลายออกมาได้มาก

ในหลายประเทศทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศในประชาคมยุโรปได้มีการออกกฎหมายควบคุมชนิดและปริมาณสารที่ถ่ายเทจากพลาสติกออกมาปนเปื้อนในอาหารเช่น มาตรฐานของ EU กำหนดค่าปริมาณการถ่ายเทสาร (Global Migration) ของพลาสติกที่สัมผัสกับอาหารไว้ที่ 10 mg/dm2 เป็นต้น

แม้จะฟังดูแล้วยากยิ่งนักสำหรับผู้บริโภคที่จะรู้ว่าสารเหล่านี้ปนเปื้อนอยู่ในอาหารมากหรือน้อย แต่เราก็พอจะมีวิธีการป้องกันตัวง่ายๆ

ใช้ฟิล์มยืดให้ปลอดภัย

1. ห้ามใช้ห่ออาหารเพื่อนำเข้าเตาอบ เนื่องจากความร้อนจะละลายสารเคมีจากพลาสติกออกมาปนเปื้อนกับอาหาร

2. ถ้าจะห่ออาหารเพื่อนำไปอุ่น ละลายน้ำแข็ง หรือทำให้สุกในเตาไมโครเวฟ ต้องเลือกใช้ฟิล์มชนิดที่ใช้กับเตาไมโครเวฟเท่านั้น

3. ถ้าจะห่ออาหารประเภทไขมัน ให้ใช้ฟิล์มยืดชนิดที่ใช้กับไขมันได้เท่านั้น

4. ไม่นำฟิล์มยืดที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ เนื่องจากพลาสติกมีการเสื่อมสภาพไปทำให้สารเคมีหลุดออกมาได้มากขึ้นด้วย

5. ไม่ซื้ออาหารจำพวกเนยแข็งหรืออาหารที่มีไขมันซึ่งห่อด้วยฟิล์มยืดเพราะสารเคมีในพลาสติกแบบนี้สามารถละลายได้ในไขมัน

กลเม็ดการพัฒนาบุคลิกเพื่อเป็น แอร์โฮสเตท

“ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” นั้น สามารถนำมาใช้ได้กับคนทำงานทางด้านบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับอาชีพนางฟ้า อย่าง แอร์โฮสเตท หรือสจ๊วต ที่ใคร ๆ ใคร่อยากจะเป็น นั่นหมายความว่าการมีบุคลิกภาพที่ดีย่อมมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ ความมั่นใจ ในตัวผู้ให้บริการคนนั้น ซึ่งมิใช่เป็นเพียงแค่พนักงานบริการที่ทำหน้าที่บริการเท่านั้น นอกจากนี้การมีบุคลิกภาพที่ดีสามารถบ่งบอกนัยของการทำงานบางอย่างนั่นก็คือ การเตรียมความพร้อมที่มีต่อการทำงาน เป็นผู้พร้อมที่จะรับผิดชอบงานในทุกรูปแบบ พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและอุปสรรคนานาประการ รวมถึงมีความพร้อมต่อการ สร้างปฎิสัมพันธ์และการพูดคุยกับผู้อื่น ดังนั้นบุคลิกภาพจึงเป็นเสมือนภาพลักษณ์ภายนอกที่สำคัญ ถือว่าเป็นหน้าตาและกระจกส่องภาพพจน์ของตนเองที่มีต่อสายตา ผู้อื่น การสร้างบุคลิกภาพที่ดีของตนเองนั้นไม่ยากเลย ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความต้องการของตน ดิฉันมีเทคนิคและหลักปฏิบัติง่าย ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนา ตนเอง ดังต่อไปนี้

การจัดทรงผม เคยมีใครเห็น เหล่านางฟ้าอย่างแอร์โฮสเตทหรือสจ๊วต ผมรุงรังยุ่งเหยิง บ้างไหม นั่นเพราะทรงผมที่เรียบร้อยสามารถสื่อให้เห็นถึงความพร้อมในการทำงาน ฉะนั้น ถ้าคุณคิดจะเอาดีทางสายอาชีพนี้แล้ว ต้องรู้จักให้ความสนใจกับทรงผมเพิ่มขึ้นด้วย ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง คุณควรสังเกตการจัดทรงผมของตนว่าดูเรียบร้อยหรือไม่ ทั้งนี้ขอให้คุณเลือกทรงผมให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส และบุคลิกภาพ ของตนเอง

การแต่งกาย การแต่งกายถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนที่จะทำงานด้านบริการ คุณควรเลือกใส่เสื้อผ้า ที่เหมาะสมกับรูปร่างและบุคลิกลักษณะของตน ทั้งนี้ขอให้ดูความเหมาะสมของบุคคลและสถานที่ที่คุณจะเข้าไปพบด้วย เช่น บริษัทอนุญาตให้แต่งชุดฟรีสไตล์ มาทำงานในวันศุกร์ได้ คุณก็กลับใส่กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุด ไปหาลูกค้าภายนอก เหตุเพราะบริษัทให้แต่งกายแบบสบาย ๆ ในวันนั้นได้ นอกจากการเลือกซื้อเสื้อผ้า ให้เหมาะสมแล้ว คุณควรจะดูแลสภาพความเรียบร้อยของเสื้อผ้าที่แต่งด้วย ควรจะรีดและจัดเสื้อให้เรียบร้อย ที่สำคัญคุณไม่ควรปล่อยให้เสื้อผ้าส่งกลิ่นเหม็นอับหรือ มีกลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์


การเดิน นั่ง และยืน ท่าเดิน นั่ง และยืน จะบ่งบอกได้ถึงลักษณะนิสัยใจคอของคุณว่าคุณเป็นคนอย่างไร มีอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการเป็นอย่างไร การพัฒนาท่าเดิน นั่ง และยืนที่ดูดีจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะการแสดงออกเหล่านี้จะบ่งบอกถึงบุคลิก ภาพที่มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเอง หลักง่าย ๆ ของการเดิน นั่ง และยืนที่ดูดีก็คือ ยืดตัว หน้าตรง เดินแกว่งแขนไปมาเล็กน้อย ทั้งนี้การมีท่าเดิน นั่ง และยืนที่ถูก ลักษณะ นอกจากจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณเอง ไม่เป็นโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก เช่น ปวดหลัง ปวดข้อต่อ เป็นต้น

การใช้สายตา และแววตา สายตาและแววตาที่แสดงออกมาจะเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจผู้อื่นได้ ดังนั้นสิ่งแรกเลยก็ คือ คุณจะต้องสบตากับผู้ที่พูดด้วย ไม่หลบหรือหลีกเลี่ยงการปะทะสายตา การสบสายตานั้นมิใช่การจ้องมองแบบเอาเลือดเอาเนื้อ ควรเป็นการแสดงออกด้วยความ รู้สึกเอาใจใส่ และความปรารถนาที่อยากจะพูดคุยด้วย รวมถึงการมีแววตาที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ ความเป็นกันเอง และความร่วมมือต่าง ๆ ดังนั้นการนอนหลับ พักผ่อน การดูแลสุขภาพของตน และการมีสภาพจิตใจที่ดีจะช่วยทำให้คุณสามารถมีสายตาและแววตาที่ดี สดใส และแจ่มใสอยู่เสมอ


การใช้คำพูด และน้ำเสียง คงไม่มีใครชอบพูดคุยกับคนที่ใช้น้ำเสียงหรือคำพูดที่ไม่ถูกกาลเทศะ คนบางคนทำร้ายตนเองด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่สื่อออกมา เป็นคำพูดที่แสดงความไม่สุภาพ ก้าวร้าว สักแต่ว่าจะพูด โดยไม่คำนึงว่าผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไร มีหลากหลายวิธี เพื่อป้องกันมิให้คุณตายเพราะคำพูด ทางแรกคือ นิ่งเงียบ ใช้สถานการณ์ของการเงียบสยบความรู้สึก ไม่พูดจะดีกว่าพูดออกมา แต่ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดใจทนไม่ไหว จะต้องพูดแล้วล่ะก็ ดิฉันขอให้เลือกใช้คำพูดแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่นจะดีกว่า หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดดูถูกดูหมิ่น เหน็บแนม หรือใช้คำพูดก้าวร้าว เอะอะโวยวาย


การแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ธรรมดา การแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการ เอามือล้วงกระเป๋า ผิวปาก หรือยักคิ้ว ยักไหล่ เวลาพูดคุยกับ พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ดูแล้วเสียบุคลิกภาพ เสียภาพลักษณ์ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ
ดังนั้นการมีบุคลิกภาพที่ดี ย่อมส่งผลโดยตรงต่อภาพพจน์ที่ดีที่มีต่อสายตาของผู้บริการ ถือว่าเป็นภาพภายนอกที่คุณจะต้องแต่งแต้ม เติมสีสรรเข้าไป เพื่อให้ลูกค้าชอบและประทับใจ และนั่นหมายความว่า คุณจะเป็นผู้หนึ่งที่สามารถผูกจิต ผูกใจลูกค้าด้วยภาพลักษณ์ภายนอกที่คุณเองเป็นผู้สร้างขึ้นมา




Top Ten Ways to Improve Your English

10 หลักเกณฑ์ง่าย ๆ ที่จะทำให้คนทำงาน สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายอาชีพงานบริการท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ต้องมักพบเจอกับผู้รับบริการชาวต่างชาติอยู่บ่อย ๆ แต่แทนที่จะต้องไปเสียเงินก้อนโต ๆ ให้กับสถาบันภาษาต่าง ๆ มากมายเราลอง มาหาวิถีทางในการพัฒนาภาษาอังกฤษในแบบฉบับที่ทำเองได้ง่ายจังกันดีกว่า
ข้อแรก Get a penpal. Now! Start your Eng.Chat
หาเพื่อนทางe-mail คุยเป็นภาษาอังกฤษ กับชาวต่างชาติ เป็นวิธีง่าย ๆ ค่าใช้จ่ายไม่แพง แถมยังได้ฝึกฝนการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษด้วย

ข้อสอง Listen to Internet Radio.
ฟังเพลงจาก Internet Radio. อันนี้นอกจากจะเพลิดเพลินกับดนตรีแล้ว ยังได้พัฒนาการทางภาษาอีก

ข้อสาม Read the news every day.
พยายามหาซื้อหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษมาอ่านข่าวทุกๆวัน เพื่อดูหลักการเขียน และฝึกทักษะด้านการอ่านของเราเอง
ข้อสี่ Keep a vocabulary book and write every new word you come across in it.
เขียนคำศัพท์ใหม่ที่คุณพบลงในสมุดบันทึกคำศัพท์ ข้อนี้อาจเหมือนกับว่า เราได้กลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อคุณได้เขียน การจดจำก็จะตามมา

ข้อห้า Have a friend quiz you on the new words in your vocabulary book.
ให้เพื่อนช่วยทดสอบคำศัพท์ใหม่ที่อยู่ในสมุดบันทึกคำศัพท์ว่าคุณทำได้ไหม อันนี้ต้องหาตัวช่วย การมีคนมาคอยถาม ก็เหมือนกับมาคอยกระตุ้นให้คุณมีความพยายามมากขึ้นนั่นเอง

ข้อหก Buy an English cook book and try to cook an interesting dish. Hint: don't burn your house down!
ซื้อหนังสือทำอาหารภาษาอังกฤษและฝึกทำอาหารที่น่าสนใจ ข้อนี้นอกจากคุณจะสนุกสนานกับการทำอาหารแล้ว คุณยังจะสามารถทราบถึงศัพท์เฉพาะของสายอาชีพอีกด้วย

ข้อเจ็ด Watch an English TV show or movie with the remote in your hand. When two people are talking together, mute the volume when one person talks and try to say what you think the person would say.
ดูทีวีโชว์หรือภาพยนตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษมือถือรีโมทไว้ เมื่อคนสองคนในทีวีสนทนากันให้หยุดเสียงคนหนึ่งไว้แล้วพยายามนึกว่าอีกคนจะพูดว่าอย่างไรแล้วพูดออกมา เพื่อฝึกการสนทนา หรือ Conversation แบบง่าย ๆ ที่บ้านตัวเอง

ข้อแปด Memorize an English song and sing it to your friend (or dog!).
จำเพลงภาษาอังกฤษแล้วร้องให้เพื่อนฟัง หรือร้องให้เจ้าตูบฟังก็ได้ ถ้ากลัวเพื่อนเลิกคบ


ข้อเก้า Don't be shy to speak English. If you make a mistake, don't worry about it.
ไม่ต้องอายที่จะพูดภาษาอังกฤษถ้าพูดผิดก็ไม่เป็นไร คนไทยเราส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ แต่เขินอายที่จะพูด ทั้งที่พูดก็ไม่มีใครว่าสักหน่อย ทำเรื่องอื่นน่าอายกว่ายังกล้า ฉะนั้น นับแต่นี้ไป คิดซะว่า จะผิดจะถูกก็พูดออกไป

ข้อสิบ Visit JobsDB.Com every day!
ง่าย ๆ ด้วยการเข้ามาหางานในเว็ปไซต์ JobsDB บ่อยขึ้น เพื่อเข้ามาฝึกฝนภาษาอังกฤษทางธุรกิจ รับรอง คุณจะได้พัฒนาทางด้านภาษามากขึ้นแน่นอน







ท่องเที่ยวไทยแบบไหนถูกใจต่างชาติ

คุณเคยสงสัยไหมว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในเมืองไทยนั้นพวกเขามีรสนิยมการท่องเที่ยวแบบไหน แหล่งท่องเที่ยวใดที่พวกเขาสนใจ เราจะเห็นว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมายหลายภาษาเดินกันขวักไขว่ในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน อังกฤษ ยุโรป รวมไปถึงนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย อย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ก็ชอบมาเที่ยวในเมืองไทย แล้วพวกเขาชอบเที่ยวแบบคนไทยไหม ลองมาสำรวจกัน

การเลือกไปพักผ่อนของกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติจะขึ้นอยู่กับเทศกาลวันหยุดประจำปีของประเทศนั้นๆ ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มลูกค้าชาวเอเชียก็จะมีเทศกาลวันหยุดประจำปีที่สำคัญ อาทิ

•จีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ : ช่วงเทศกาลตรุษจีน จัดเป็นวันหยุดระยะยาว ในช่วงนี้แหล่งท่องเที่ยวชั้นนำย่านเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยจะเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้
•ญี่ปุ่น : ช่วงวันหยุดระยะยาวที่ชาวญี่ปุ่นนิยมเดินทางท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ คือ ช่วงที่เรียกว่า “Golden Week” ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม และอีกช่วงหนึ่ง คือ ช่วงวันหยุดสิ้นปีต่อเนื่องถึงวันขึ้นปีใหม่ ในแต่ละช่วงกินเวลาประมาณ 5 – 6 วัน
•เกาหลีใต้ : เทศกาลวันหยุดระยะยาวของชาวเกาหลีใต้ ได้แก่ ช่วงวันตรุษจีน และวันขอบคุณพระเจ้าของชาวเกาหลี ( Korean Thanksgiving Days )
ส่วนในเรื่องของรสนิยมนั้นก็จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ชาวเอเชียจะนิยมท่องเที่ยวแบบธรรมชาติและชายทะเล ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกนั้นจะมีทั้งกลุ่มที่สนใจธรรมชาติ และกลุ่มที่สนใจเรื่องวัฒนธรรมและประเพณี กลุ่มที่สนใจธรรมชาติมาก เช่น นักท่องเที่ยวเยอรมัน และสแกนดิเนเวีย กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาจากแถบประเทศดังกล่าวจะชอบความสงบเงียบ ชอบความงามของธรรมชาติ ซึ่งประเภทของการท่องเที่ยวก็จะเป็นประเภทเดินป่า เที่ยวน้ำตก และสำรวจความงดงามของถ้ำ ส่วนนักท่องเที่ยวจากฝรั่งเศส สเปน และ ยุโรปตอนใต้ จะเป็นกลุ่มที่สนใจเรื่องวัฒนธรรมและประเพณีของไทยมากกว่า วัด และพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่กลุ่มนี้นิยม โดยรวมอาจสรุปได้ว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว เพื่อการแสวงหาประสบการณ์จากความแตกต่างทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การพบปะผู้คน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฉะนั้นการนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการชื่นชมธรรมชาติ และความงดงามทางศิลปะของไทย ประเพณีหรือวรรณกรรมต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย จึงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างมาก


ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงก็ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติไม่น้อย แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลด้านฝั่งทะเลตะวันออก เช่น เกาะเต่า และเกาะช้าง ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันก็ได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวมากเช่นกัน เช่น เกาะลันตา เกาะพีพี อ่าวพระนาง ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจะนิยมมาเที่ยวกันก็คือ ช่วงเดือนตุลาคม – มีนาคม และหลังจากนั้นตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน จะเป็นช่วงที่มีมรสุมทำให้นักท่องเที่ยวนิยมไปท่องเที่ยวกันค่อนข้างน้อย

ไม่ว่าชาวต่างชาติจะนิยมการท่องเที่ยวในเมืองไทยแบบไหน ก็เป็นสิ่งที่เราคนไทยควรจะภูมิใจในประเทศของเราที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยกันเป็นจำนวนมาก เราคนไทยก็ควรจะทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านที่ดี และสร้างความประทับใจเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตไปอย่างมีประสิทธิภาพ


F&B แผนกนี้คืออะไร

แผนก F&B เป็นแผนกที่บริการอาหารและเครื่องดื่ม หรือ Food and Beverage Service แผนกนี้เป็นบริการมีโอกาสติดต่อกับแขกโดยตรง การบริการหรือวิธีเสิร์ฟมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารสชาติหรือคุณภาพของอาหารเลยทีเดียว และมีบางคนถึงกับคิดว่าค่าบริการนั้นสำคัญยิ่งกว่าตัวอาหารซะอีก อย่างไรก็ตามทั้งสองอย่างก็ต้องดีควบคู่กันไป คืออาหารต้องอร่อย และบริการต้องดีด้วย ห้องอาหารนั้นจึงจะเป็นที่พอใจของแขก พนักงานที่มีความสุภาพเป็นกันเอง และหน้าตาต้องยิ้มแย้มเสมอถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดของอาหารเลยทีเดียว

พนักงานเสิร์ฟที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะที่มีความชำนาญในงานที่ทำอยู่บ้าง เช่น การตักอาหารให้แขกโดยตักจากชามใหญ่และหนักโดยใช้ช้อนส้อม และการถือจาน 3-4 ใบที่มีอาหารอยู่ด้วยโดยไม่ให้อาหารหก เป็นต้น อีกทั้งพนักงานเสิร์ฟต้องมีทักษะในการติดต่อกับคน เพราะต้องพูดคุยกับแขกที่มาใช้บริการของห้องอาหาร กล่าวกันว่าพนักงานเสิร์ฟทั้งหลายเปรียบเหมือนเป็น “กองกำลังหรือหน่วยขายอาหาร” เลยทีเดียว เพราะมีเจ้าหน้าที่แนะนำหรือขายสินค้าที่เกี่ยวกับอาหารที่แผนกคัวทำขึ้นมาแก่ลูกค้า พนักงานเสิร์ฟจะชนะใจลูกค้าได้ด้วยการรู้จักกาลเทศะ มีเสน่ห์น่าพูดด้วย ทำงานได้คล่องแคล่ว และรอบรู้ในงานที่ต้องเองรับผิดชอบ เช่นสามารถแนะนำลูกค้าถึงการเลือกสั่งอาหารอะไร และอธิบายให้ลูกค้าฟังว่าอาหารเป็นอย่างไร และปรุงด้วยวิธีอย่างไร

การบริการที่ดียังรวมถึงการมีจังหวะที่เหมาะสมในการให้บริการ เช่น เมื่อแขกต้องการอะไรก็รีบสนองตอบอย่างรวดเร็วทันใจ เป็นต้น พนักงานเสิร์ฟควรจะล่วงรู้ว่าแขกกำลังต้องการอะไรก่อนที่แขกจะเอ่ยปากขอ นอกจากนี้พนักงานควรเตรียมงานล่วงหน้าไป 1 ขั้นเสมอ เช่นการรีบไปบอกแผนกครัวว่ามีแขกกลุ่มใหญ่เข้ามาแล้ว เพื่อให้พ่อครัวรู้ตัวและสามารถที่จะเตรียมการล่วงหน้าได้

ในกรณีของห้องอาหารเล็ก ๆ ที่มีพนักงานเสิร์ฟ 2-3 คน งานในความรับผิดชอบของพนักงานเสิร์ฟจะแบ่งขอบข่ายกว้าง ๆ ดังนี้

1.ตกแต่งหรือจัดแจงห้องอาหารให้ดูดี และสะดวกสบาย
2.จัดวางโต๊ะเก้าอี้ และอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะ
3.รับจองโต๊ะจากลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามาจอง
4.ต้อนรับลูกค้า
5.รับออเดอร์ หรือคำสั่งเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มจากลูกค้า
6.นำอาหารและเครื่องดื่มไปเสิร์ฟ
7.เก็บโต๊ะเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จแล้ว
8.กล่าวขอคุณเมื่อแขกจะกลับ หรือส่งแขก
9.ทำความสะอาดห้องอาหาร
ในกรณีของห้องอาหารขนาดใหญ่ จะมีเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคนจึงแบ่งกระจายกันออกไป ดังนี้

1.ผู้จัดการห้องอาหาร (Restaurant Manager) ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบห้องอาหารในทุกเรื่อง วาง/กำหนดมาตรฐานของการบริการ วางแผนตารางเวลาและการทำงานของพนักงานฝึกสอนงานแก่พนักงาน รับจองโต๊ะ ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปที่โต๊ะ และเมื่อถูกต่อว่าผู้จัดการต้องเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ
2.หัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ (ชาย Head Waiter/หญิง Head Waitress หรือ Maltre d’Hotel หรือนิยมเรียกกันว่า Maltre D.) เป็นตำแหน่งรองผู้จัดการห้องอาหาร ถ้าเป็นห้องอาหารขนาดเล็กก็จะเป็นผู้ที่ดูแลห้องอาหารทั้งหมด ในกรณีที่เป็นห้องอาหารขนาดใหญ่ จะมีหัวหน้าหลายคน โดยคนหนึ่งจะดูแล 3-4 Station เป็นเขตบริการหรือเขตที่ต้องรับผิดชอบในห้องอาหารที่พนักงานแต่ละคนต้องรับผิดชอบและดูแลลูกค้าที่นั่งโต๊ะ ซึ่ง Station หนึ่งจะมีหลายโต๊ะ Head Waiter มีหน้าที่ที่ต้องควบคุมการทำงานของพนักงานเสิร์ฟในเขตความรับผิดชอบของตน เช่น ช่วยพาลูกค้าไปนั่งที่โต๊ะ และรับคำสั่งจากลูกค้าที่ต้องการสั่งอาหาร
•พนักงานเสิร์ฟอาวุโสประจำเขต (Station Waiter/Station Waitress หรือ Chef de Rang) มีหน้าที่เสิร์ฟหรือให้บริการลูกค้าหลายโต๊ะใน Station หรือเขตของตน ส่วนมากจะมีลูกค้ารวมกันประมาน 20 คน เมื่อลูกค้าสั่งอาหารแล้วก็จะคอยปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บนโต๊ะต่างๆ เช่น มีด ช้อนส้อม ให้เหมาะกับอาหารของลูกค้าที่สั่ง และเคลียร์ตะเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จแล้ว
•ผู้ช่วยพนักงานเสิร์ฟ (Commis Waiter/Commis Waitress) มีหน้าที่ช่วยบริการด้านอาหาร จัดโต๊ะ เคลียร์โต๊ะ โดยทั่วไปผู้ช่วยพนักงานเสิร์ฟจะเป็นคนยกอาหารที่ทำเสร็จจากครัวมาที่ห้องอาหาร และนำพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ลูกค้าใช้แล้วกลับไปในครัวเพื่อให้แผนกสจ๊วตทำความสะอาด ในเมืองไทยนิยมเรียกหน้าที่นี้ว่า Bus Boy/Bus Girl มีหน้าที่ “เคลียโต๊ะ และวิ่งอาหาร”
•พนักงานเสิร์ฟเหล้า (Wine Waiter/Wine Waitress หรือ Sommellier ซอมเมอลิเยร์) มีหน้าที่รับคำสั่งหรือออเดอร์ที่เกี่ยวกับเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั้งหมด ไม่เกี่ยวกับเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ
3.พนักงานเก็บเงิน หรือแคชเชียร์ (Cashier) มีหน้าที่ในการออกใบเสร็จและเก็บเงิน แต่คนที่นำใบเสร็จไปให้ลูกค้าได้แก่พนักงานเสิร์ฟ
4.พนักงานประจำบาร์ขายเหล้า (Barperson, Barman/Barmaid, Bartender) คำว่า Bartender ในภาษาอังกฤษนั้นสามารถเรียกได้ทั้งพนักงานชาย และหญิง แต่ในเมืองไทยถ้าเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า Bartendee จะประจำอยู่บาร์เหล้าต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการผสมสุราต่างๆ ซึ่งต้องเรียนรู้ แต่วีเรียนรู้ที่ดีที่สุดก็ต้องอาศัยการฝึกและประสบการณ์ เช่น ต้องรู้วิธีรินเบียร์โดยไม่ให้มีฟองมาก วิธีค่อยๆ รินเหล้าไวน์ แบบไม่ให้มีตะกอนไหลลงมาด้วย วิธีผมสมเครื่องดื่มประเภทค็อกเทล รวมถึงจำราคาและจำนวนของเครื่องดื่มต่างๆ ที่ลูกค้าสั่งได้ด้วย นอกจากนี้ Bartender ที่ดีต้องเป็นคนช่างพูดด้วย เพราะจะต้องพบปะลูกค้าโดยตรงและลูกค้าก็มีหลายแบบ ซึ่งถ้าชอบพูดคุยกับตนด้วยก็จะทำให้สนุกไปกับงานและช่วยให้ขายดีด้วย เพราะลูกค้าบางส่วนเวลามาสั่งเครื่องดื่มจะต้องการเพื่อนคุย และถ้าพูดคุยถูกคอก็จะสั่งเครื่องดื่มไปเรื่อยๆ และต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเวลาลูกค้ามาด่าด้วยคำหยาบ หรือในกรณีที่มีลูกค้าเข้ามาพร้อมกันจำนวนมาก
แผนกจัดเลี้ยง (The Catering Department) แผนกนี้จะเป็นเรื่องของการบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มเหมือนกับแผนกอาหารและเครื่องดื่ม แต่ลักษณะของการทำงานมีส่วนแตกต่างกันโดยแผนกอาหารและเครื่องดื่มจะดูและห้องอาหารซึ่งเป็นแค่กลุ่มย่อยๆ แต่แผนกจัดเลี้ยงจะต้องเตรียมการและบริการคนครั้งละมากๆ จึงจำเป็นต้องให้การทำงานมีความคล่องตัว


จัดเลี้ยงนอกสถานที่ให้ประทับใจลูกค้า

หากหัวใจของการจัดเลี้ยง คือการสร้างความประทับใจให้กับเจ้าของและแขกผู้ร่วมงานแล้วละก็ ผู้ดำเนินธุรกิจจัดเลี้ยงต้องควบคุมดูแลภาพรวมของงานให้สมบูรณ์แบบที่สุด ต้องทำความเข้าใจเรื่องรูปแบบของงานที่ลูกค้าต้องการ ต้องเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และบุคลากร ต้องคำนึงถึงการตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม หน้าตาและรสชาติอาหาร เป็นต้น ในวันนี้เราจะพูดถึงการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ให้ประทับใจ ซึ่งกว่าที่จะจัดงานหนึ่งงานออกมาได้นั้น ผู้จัดงานต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ประกอบด้วยเสมอ

1.ต้องคุยกับเจ้าของงานก่อนเพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้น เช่น จะจัดเลี้ยงเนื่องในโอกาสใด งานแต่งงาน งานบวช งานวันเกิด หรืองานเลี้ยงปลดเกษียณ เจ้าของงานเป็นคน แบบไหน อายุเท่าไหร่ ทำงานอะไร แขกเป็นใครบ้าง เพื่อที่เราจะได้ตีโจทย์ และแนะนำรูปแบบที่เหมาะสมกับเขา หรือถ้าหากเจ้าของงานมีรูปแบบงานอยู่ในใจแล้วยิ่งดี เพราะจะช่วยให้ง่ายต่อการจัดงานให้ถูกใจ โดยทั่วไปแล้วรูปแบบของการจัดเลี้ยงมีอยู่ 3 แบบ
•งานเลี้ยงแบบค็อกเทล
งานเลี้ยงที่มีการเชิญแขกเป็นจำนวนมาก น่าจะเหมาะสมกับรูปแบบค็อกเทลมากที่สุด เพราะไม่เสียเนื้อที่ในการจัดวางโต๊ะรับประทานอาหาร โดยจะจัดบริการอาหารไว้รอบ ๆ งาน ให้แขกเดินเลือกได้ตามใจชอบ โดยมากจะเป็นอาหารทานเล่นเบา ๆ ขนาดพอดีคำ งานเลี้ยงแบบนี้พนักงานจะเดินถือถาดคอยบริการเครื่องดื่มตลอดทั้งงาน ซึ่งเครื่องดื่มก็มีทั้งแบบมีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ จัดได้ทั้งในอาคารและนอกอาคารในรูปแบบที่ไม่เป็นพิธีการมากนัก

•งานเลี้ยงแบบบุฟเฟต์
งานเลี้ยงบุฟเฟต์จะเป็นอาหารที่หนักท้องกว่าแบบค็อกเทล โดยจะมีทั้งอาหารคาวหวานครบครัน ซึ่งจะมีการจัดอาหารเรียงรายไว้ให้แขกเลือกตักแล้วนำไปรับประทานที่โต๊ะ บนโต๊ะอาจมีการจัดวางช้อนส้อม แก้วน้ำไว้ หรือบางงานอาจจัดวางภาชนะอุปกรณ์ เช่น จาน ช้อนส้อม ถ้วยชาม ฯลฯ ไว้ที่โต๊ะบุฟเฟต์ พนักงานสามารถช่วยอำนวยความสะดวกโดยการช่วยตักแบ่งอาหารบางอย่างให้ที่โต๊ะบุฟเฟต์ รวมทั้งคอยเติมอาหารในถาดด้วย

•งานเลี้ยงแบบโต๊ะจีน
เป็นงานที่แขกจะนั่งประจำที่โต๊ะตลอดเวลา เพราะพนักงานจะนำอาหารจัดใส่จานขนาดใหญ่ ทยอยกันออกมาเสิร์ฟถึงโต๊ะ รวม 8-12 อย่างต่อชุด ต่อคน 10 คน ก่อนแขกมาถึงงานพนักงานต้องเตรียมจัดวางอุปกรณ์ประจำแต่ละที่นั่ง ได้แก่ จานเล็ก ถ้วย (ชาม) ใบเล็ก ช้อน ตะเกียบ แก้วน้ำ ให้พร้อม เมื่อแขกมาครบจึงเริ่มเสิร์ฟอาหารสำหรับโต๊ะจีนแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามลำดับ คือ อาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานร้อน อาหารจานหลัก อาหารอิ่มท้อง และอาหารหวาน เมื่ออาหารมาถึงโต๊ะพนักงานจะวางอาหารกลางโต๊ะ และคอยเก็บอาหารที่รับประทานหมดแล้วออกไป นอกจากนี้ยังต้องคอยบริการน้ำดื่ม และอื่น ๆ ที่แขกต้องการด้วย

2.ในเรื่องของอาหาร จะทำเมนูอะไร รสชาติแบบไหน ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของลูกค้าด้วย ถ้าเป็นงานที่มีแขกผู้ใหญ่ อาจต้องเน้นอาหารหนักมากกว่าอาหารทานเล่น โดยเน้นจัดเป็นบุฟเฟ่ต์หรือโต๊ะจีน และควรจัดอาหารในรูปแบบที่เขาคุ้นเคย ไม่เน้นดีไซน์แปลก ๆ สมัยใหม่มากนัก เพราะหากแขกไม่คุ้นเคยก็อาจไม่รับประทาน
3.ต้องเตรียมอุปกรณ์ไปให้พร้อม ทำบันทึกรายการที่จะต้องเตรียมไปให้ครบถ้วน เนื่องจากเราออกไปนอกสถานที่ หากขาดเหลืออะไร จะย้อนกลับมาก็ดูจะเป็นการลำบาก ซ้ำยังเป็นการแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพอีกด้วย อย่างไรก็ดี ควรมีการประสานกับเจ้าของงานให้ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องสถานที่ ระบบไฟ สำหรับใช้กับอุปกรณ์เครื่องมือที่เราเตรียมไปด้วย ส่วนน้ำไม่จำเป็นเพราะการจัดเลี้ยงนอกสถานที่จะไม่มีการล้างภาชนะใด ๆ เราเตรียมไปให้พอแล้วก็ขนกลับมาล้างเองทั้งหมด

ในปัจจุบันลูกค้าชอบที่จะได้รับบริการแบบครบวงจร หากผู้จัดเลี้ยงสามารถอำนวยความสะดวก และตอบสนองได้ทุกความต้องการของลูกค้า ย่อมสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าและแขกที่มาร่วมงานอีกนับร้อยคน นั่นหมายความว่า เมื่อมีคนคิดจะจัดงานเลี้ยงในครั้งต่อไป เขาจะนึกถึงความประทับใจที่ได้จากบริการของคุณ และเลือกที่จะโทรหาคุณก่อนผู้จัดงานรายอื่น ๆ
การเก็บรักษาเครื่องมือและเครื่องใช้ในบาร์
เครื่องมือเครื่องใช้ในบาร์ เราจำเป็นจะต้องรักษาให้สะอาดและจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเอาใจใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดของเครื่องมือต่าง ๆ เช่น มีดหรือที่เปิดขวด หรือจุกเหล้าต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเกิดสนิมขึ้นง่าย ๆ อีกด้วย เครื่องมือเครื่องใช้ในบาร์นั้น บางอย่างล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วก็เช็ดด้วยผ้าให้แห้งและสะอาด พยายามเก็บไว้ให้เป็นที่ จะได้รู้ว่าอยู่ตรงไหนและเลือกที่ไว้ให้ง่ายต่อการหยิบฉวย จำพวก Shaker หรือที่เขย่าเหล้าเมื่อใช้เสร็จ จะต้องรีบล้างให้สะอาดทุกครั้ง แล้วใส่ในตู้เย็น หรือวางไว้ยังที่ที่กำหนดไว้ จะได้สะดวกเมื่อจะผสมเหล้าสูตรต่าง ๆ อย่าวางทิ้งไว้โดยที่ไม่ได้ล้าง แล้วผสมเหล้าชนิดใหม่ลงไปทันที เพราะจะเสียรสของเหล้าชนิดนั้น ๆ เนื่องจากสูตรเหล้าไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงควรแบ่งการทำความสะอาดดังนี้

1.พื้นถูให้สะอาด กวาดให้เรียบร้อย อย่าให้มีเศษผลไม้หรือเศษผงเหลืออยู่ พยายามอย่าให้พื้นเปียก ต้องให้พื้นแห้งอยู่เสมอ
2.อ่างล้างแก้ว ขัดถูให้สะอาดทุกวัน อย่าให้มีเศษผลไม้หรือเมล็ดผลไม้ตกอยู่ เพราะอาจทำให้ท่อระบายน้ำตันได้
3.ตู้แช่เย็นและถังน้ำแข็ง ควรถูและเช็ดให้สะอาดแวววาวเสมอทั้งด้านในตู้เย็นและด้านนอกของตู้เย็น
4.ถาดใส่แก้ว จะต้องล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้งหลังจากปิดบาร์แล้ว
5.แก้วต่าง ๆ เมื่อนำออกมาจากในครัวแล้ว ควรตรวจดูให้สะอาดและเช็ดด้วยผ้าแห้งอย่าให้มีรอยคราบน้ำหรือลิปสติกหรือคราบของความสกปรกหลงเหลืออยู่ ถ้าหากพบว่าแก้วสกปรก ให้นำกลับไปไว้ในครัว เพื่อล้างซ้ำอีกครั้ง
6.ขวดเปล่าหรือลังเปล่า จะต้องเก็บใส่ภาชนะให้เป็นระเบียบ ขวดน้ำอัดลมก็นำใส่ลังของน้ำอัดลม ชนิดไหนก็ใส่ชนิดนั้น
7.ชั้นวางของและหิ้ง ถูและเช็ดให้สะอาด และพยายามวางของให้เป็นระเบียบ อย่าให้มีคราบสกปรกติดอยู่ และควรปิดให้มิดชิดทุกครั้ง เพื่อกันแมลงสาบ จิ้งจก หรือหนูเข้าไปอาศัยอยู่
8.ขวดเหล้า ควรทำความสะอาดให้มาก เช็ดด้วยน้ำมาก ๆ อย่าให้มีฝุ่นจับ เหล้าที่ใช้อยู่ในขวด แต่ยังไม่หมดขวดควรปิดให้สนิท เพราะอาจมีตัวมด หรือแมลงเข้ไปกินเหล้าได้ เช่น จำพวกเหล้า Vermouth ต่าง ๆ
9.พวกเครื่องผสมและน้ำผลไม้กระป๋อง เช่น น้ำสับปะรดกระป๋อง หรือน้ำมะเขือเทศ ถ้าใช้ไม่หมดกระป๋อง อย่าปล่อยทิ้งค้างคืนไว้ในตู้เย็น ควรถ่ายลงในแก้วสะอาดและเปิดจุกไว้เพราะถ้าทิ้งไว้ในกระป๋องดีบุกและความชื้นของอากาศจะทำให้ผลไม้นั้น ๆ เกิดการเสียได้ และทำให้เป็นพิษแก่ร่างกาย หากดื่มเข้าไป
หมายเหตุ ความสะอาดจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบาร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะจะทำให้แขกรู้สึกอยากดื่มเหล้า
อินเทอร์เน็ตกับโรงแรมและรีสอร์ท

ท่านผู้อ่านคะ หลายท่านคงเข้าใจผิดว่าการที่ทำเว็บไซต์ของโรงแรมบนอินเทอร์เน็ต ถือว่าเป็นที่สุดของการทำการตลาดบน อินเทอร์เน็ตของโรงแรม นี่เป็นข้อที่ผิดพลาดมากที่สุด เนื่องจากเรายังสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้มากกว่านี้ วันนี้ JobsDB จะขอนำเสนอประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตกับงานโรงแรม ดังนี้
นอกจากเว็บไซต์ที่มีการออกแบบอย่างสมบูรณ์ จะสามารถผลักดันการส่งเสริมการขายเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจแล้ว การโฆษณาผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ต และ Search Engine ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญให้มีผลตอบแทนจากการส่งเสริมการขายให้ได้ผลเร็วที่สุด และมีศักยภาพอย่างมาก


ดังนั้นจุดหลักที่จะทำให้มีคนเข้ามาดูเว็บไชต์ของเราจะมีด้วยกันอยู่ 2 ส่วนก็คือ

1.การโฆษณาผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต นั้นคือ การสร้างเครือข่ายเพื่อนำ Link ของโรงแรมของเราไปใส่ไว้ในสื่ออื่น ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโดยอ้อม
2.Search Engine นั้นคือ การสร้าง Keyword เพื่อให้หน้า Link ของโรงแรมเราไปอยู่ในลำดับแรก ๆ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ผู้เชี่ยวชาญในการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับนั้น มักจะเผยแพร่เว็บไซต์ของเราไปยังผู้คนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือสนใจในการท่องเที่ยว ผ่านการใช้ Keyword ที่ไม่ดี ดังนั้น การใช้ Keyword ที่ดี ควรเป็นคำที่ใช้ค้นหาแบบปกติ และสอดคล้องกับคนที่เกี่ยวข้องหรือสนใจการท่องเที่ยว
แต่ 2 ส่วนที่พูดขึ้นมานั้นก็ยังเป็นแค่งานเพียงครึ่งเดียวของงานทั้งหมด เนื่องด้วยถึงแม้ว่าจะมีคนเข้ามาเยี่ยมชมมากสักเท่าไร แต่ถ้าการออกแบบ หรือเนื้อหาที่ไม่ดีก็จะไม่ช่วยให้โรงแรมมียอดขายที่มากขึ้นได้ ซึ่งจะทำอย่างไรดีกับการทำให้เนื้อหาในเว็บไซต์มีความน่าสนใจ

อย่างแรกเราต้องพิจารณาถึง คู่แข่ง ก่อน ซึ่งจะพิจารณาแค่โรงแรมโดยรอบของคุณไม่ได้ แต่ต้องคำนึงไปทั่วโลก เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางไปทั่วโลก โดยวิเคราะห์ถึงจุดเด่น จุดด้อย อะไรที่เรามีแต่คนอื่นไม่มี เพื่อที่นำไปใช้ในการสร้างเนื้อหาในเว็บไซต์ของเรา

อย่างที่สองคือต้องทำโปรโมชั่นที่สร้างคุณค่า เช่นสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องลดราคาลง เนื่องจากจะเป็นการทำลายคุณภาพของโรงแรมของเราเอง และแน่นอนว่า เราต้องดูลักษณะของผู้ที่จะเข้าพัก ที่มีหลายประเภท เช่น นักท่องเที่ยวแบบอิสระหรือนักท่องเที่ยวแบบองค์กร ซึ่งจะมีวิธีการขายที่แตกต่างกันไป และการทำ
โปรโมชั่นที่ดีนั้น ควรจะเป็นการทำเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่นการจองห้องพัก แถมการท่องเที่ยว หรือบริการสปา เป็นต้น

อย่างที่สามคือ มีนโยบายการทำตลาดเชิงขออนุญาต เพื่อให้มีสิทธิพิเศษเพิ่มเติม โดยส่งจดหมายข่าวออกไป พร้อมข้อเสนอพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น “เรานำเสนอสิทธิพิเศษแบบใหม่ที่เหนือกว่าธรรมดา คลิกที่นี่ เพื่อที่จะเข้าร่วมอยู่ในรายชื่ออีเมลของเรา และจะได้รับการแจ้งแบบส่วนตัวล่วงหน้าสำหรับสิทธิพิเศษของเราก่อนใคร ๆ” เป็นต้น และจะเป็นการสร้างฐานข้อมูลของลูกค้าในอนาคตของเราได้ และที่สำคัญก็คือ ควรจะเก็บ Life-style ของลูกค้ามาด้วยสำหรับเตรียมทำโปรโมชั่นใหม่ ๆ ออกมา

เห็นไหมคะ ท่านผู้อ่านการให้บริการที่เหนือกว่า สามารถทำได้ผ่านการทำการตลาดบนอินเตอร์เน็ตของโรงแรม ซึ่งเป็นวิธีการง่าย ๆ และเป็นเครื่องมือที่มีราคาถูกที่สุดที่ทำให้มีลูกค้าเข้ามาจองที่พัก หรือใช้บริการได้มากขึ้น และในภาวะเช่นนี้ JobsDB เองก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอข้อคิดเห็นดี ๆ เพื่อที่จะทำให้ปริมาณแขกที่เข้าพักของโรงแรมของท่านมีเพิ่มขึ้นด้วยนะคะ
วิธีประหยัดพลังงานสำหรับธุรกิจโรงแรม

การดำเนินธุรกิจโรงแรมนั้น การให้บริการลูกค้าและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ในบางครั้งการบริการที่ประทับใจก็อาจมีส่วนที่เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานได้ เช่น การที่แขกเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้ในตอนกลางวันที่เขาไม่อยู่ห้อง ก็เป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์ ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีวิธีวิธีดี ๆ ที่จะช่วยประหยัดพลังงานสำหรับธุรกิจโรงแรมมาฝากท่านผู้อ่านค่ะ
1.ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ

อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ หรือเทอร์โมสตัท เพื่อใช้ในการตรวจจับความเคลื่อนไหวภายในห้องพัก เมื่อไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ ภายในห้องเลยสักพักหนึ่ง ระบบไฟฟ้า แอร์ อุปกรณ์ทำความร้อนหรือความเย็นก็จะหยุดทำงาน หรือลดระดับเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน ซึ่งช่วยลดความสิ้นเปลืองไฟฟ้าไปได้มากทีเดียว

2.ใช้แผงโซลาเซลล์สร้างพลังงานแสงอาทิตย์

ถ้าโรงแรมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองได้ ย่อมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงานภายในตัวอาคารก็เป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ถ้าวันไหนมีแสงแดดน้อยก็สามารถปรับเปลี่ยนกลับมาใช้ไฟฟ้าตามปกติได้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

ไม่เพียงเท่านั้น หากโรงแรมของคุณมีขนาดใหญ่สามารถผลิตพลังงานได้มากจนเหลือใช้ ในบางประเทศสามารถขายพลังงานให้แก่พื้นที่ใกล้เคียง เพิ่มรายได้ให้โรงแรมได้อีกทางหนึ่ง

3.ใช้ทีวีจอแบน และ LCD Monitor ก็ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้

ผู้ผลิตโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันตระหนักถึงผลเสียจากผลิตภัณฑ์ของพวกเขามากขึ้น จึงได้มีการผลิตทีวีจอแบน และ LCD Monitor ขึ้นมาแทนทีวี และมอนิเตอร์แบบเก่า เพราะสารเคมีที่อยู่ในทีวีและมอนิเตอร์รุ่นใหม่นั้น ยังไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเด่นชัดเท่ากับทีวี และมอนิเตอร์แบบเก่า

4.หันมาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้

ที่เห็นมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องนั้นเป็นเพราะว่า มีการพิสูจน์แล้วถึงประสิทธิภาพและการรักษาสิ่งแวดล้อมที่มากกว่า โดยเฉลี่ยแล้วหลอดไส้มีราคาถูกกว่า แต่ระยะเวลาการใช้งานก็น้อยกว่า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลอดฟลูออเรสเซนต์แล้วพบว่า หลอดไส้ราคาหลอดละ 20 บาท แต่ก็ใช้งานได้เพียงปีเดียวเท่านั้น ในขณะที่หลอดฟลูออเรสเซนต์มีราคา 50-100 บาท แต่สามารถใช้ได้นานถึง 6 ปีเลยทีเดียว ที่สำคัญหลอดไส้ใช้ความร้อนในการสร้างแสงสว่างมากกว่า จึงเปลืองพลังงานมากกว่า ดังนั้น หันมาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์กันดีกว่า เพราะประหยัดพลังงานได้มากว่าค่ะ

5.ดูแลรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ

ในระบบทำความเย็นนั้น คอยล์ร้อนและคอยล์เย็นถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากในระบบการปรับอากาศ ถ้าเราปล่อยให้มันสกปรกมากเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อที่จะได้อุณหภูมิในระดับที่เป็นที่ต้องการของเทอร์โมสตัท ดังนั้น การทำความสะอาดคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นอย่างสม่ำเสมอจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยืดอายุการใช้งาน และประหยัดพลังงานได้อย่างแน่นอน

งานโรงแรม นอกจากการให้บริการที่น่าประทับใจแล้ว ในความประทับใจนั้นยังสามารถช่วยประหยัดพลังงาน เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนี้ก็สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมากเลยล่ะค่ะ
ข้อห้ามในการแสดงออกที่ไม่สุภาพต่อแขก

กว่าจะมาเป็นพนักงานบริการไม่ว่าจะเป็นงานโรงแรม หรืองานร้านอาหาร จะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับเรื่องการแสดงออกที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมในการให้บริการแขก เพื่อสามารถให้บริการแขกได้อย่างน่าประทับใจ และเป็นมืออาชีพ วันนี้เรามีคำเตือนในการแสดงออกของพนักงานที่ต้องพึงระวังในเรื่องความสุภาพต่อแขก 15 ข้อพึงจดจำ ดังต่อไปนี้

1.การล้วง แคะ แกะ เกา เสยผม บิดตัว หักข้อนิ้วมือ
2.การอยู่ไม่สุข เช่น เล่นกับปากกา กุญแจ เหรียญ
3.การจ้องมองแขก ฟังเรื่องที่แขกคุย
4.การโบกมือให้แขก หรือทำวันทยาหัตถ์
5.การเคี้ยวหมากฝรั่ง
6.การชี้นิ้วไปที่แขก
7.การชักสีหน้า แสดงอาการเบื่อ โกรธ หรือไม่พอใจ
8.การหาว การเรอ การจามโดยไม่ป้องปาก การถ่มน้ำลาย
9.การจัดเครื่องแบบขณะปฏิบัติหน้าที่
10.การสัมผัสร่างกาย หรือสิ่งของของแขก
11.การไม่หลีกทางให้แขกเดินก่อน
12.การให้บริการที่ไม่เท่าเทียมกัน
13.การรอทิป หรือนับเงินทิปต่อหน้าแขก
14.การสูบบุหรี่ขณะปฏิบัติหน้าที่
15.การอ่านหนังสือที่เตรียมไว้สำหรับแขก
บางทีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะนั่นหมายถึงการแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่แขกของคุณ ดังนั้น 15 ข้อห้ามข้างต้นไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระมัดระวัง และไม่ทำให้เกิดขึ้น เพื่อการบริการที่น่าประทับใจ ชวนให้กลับมาใช้บริการอีกในครั้งต่อ ๆ ไป
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับพนักงานเสิร์ฟมือโปร

พนักงานบริการมือโปรนั้น เวลาจะเสิร์ฟอาหารจะไม่ถามแขกว่าอาหารจานนี้เป็นของลูกค้าท่านใด แต่จะจดจำให้ได้ว่าใครสั่งอะไร และสามารถเสิร์ฟได้อย่างแม่นยำ ไม่ผิดตัว

ในโรงแรมหรือภัตตาคารที่มีมาตรฐาน จะมีการฝึกอบรมพนักงาน พนักงานเสิร์ฟ บริกร ในการรับคำสั่งอาหารและเสิร์ฟอาหารได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าพนักงานที่นำอาหารมาเสิร์ฟจะเป็นคนละคนกับพนักงานที่รับคำสั่งจากลูกค้าก็ตาม

สิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่พลาดในการเสิร์ฟอาหารก็คือ การเขียนแผนผังที่นั่งของแขก (Table Plan/Seating Plan) ก่อนรับคำสั่งอาหาร โดยการกำหนดว่าในแต่ละโต๊ะ จะนับหมายเลขจากซ้ายมือของประตูทางเข้าร้านอาหารเป็นหมายเลข 1 จากนั้นก็ใช้วิธีนับตามเข็มนาฬิกา

นอกจากนี้ ก่อนเสิร์ฟอาหาร พนักงานจะต้องบอกชื่ออาหารก่อนเช่นกัน เพื่อให้แขกรู้ตัวและเพื่อให้แขกแน่ใจว่าสิ่งที่แขกสั่งนั้นถูกต้อง และไม่ผิดตัว

บ่อยครั้งในห้องอาหารที่พนักงานบริการไม่ได้บอกแขกก่อนลงอาหาร จนบางครั้งผิดพลาดลงอาหารผิดโต๊ะ จนแขกรับประทานหมดเรียบร้อยแล้วบอกว่า “รายการนี้ไม่ได้สั่ง” ส่งผลให้เสียเวลา เสียต้นทุน เสียความรู้สึกทั้งแขกและพนักงาน เพียงแค่บอกให้แขกทราบว่าอะไรที่มาเสิร์ฟนี้คืออะไร ก็จะไม่เกิดข้อผิดพลาดเช่นนี้ขึ้น

ยิ่งในกรณีที่แขกเข้ามารับประทานอาหารพร้อมคุยเรื่องธุรกิจไปด้วย การบอกให้แขกรู้ตัวก่อนเสิร์ฟอาหาร ยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องขออนุญาตแขกก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุ เช่น อาหารหกลงบนเอกสารสำคัญของแขก หรือจังหวะเข้าไม่ดีอาหารหรือจานโดนแขก เป็นต้น

แค่เพียงกล่าว “ขอโทษครับ ข้าวผัดปูครับ” ก็ใช้ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้การทำให้แขกสนใจก่อนลงอาหาร ด้วยการไอ สัมผัสแขก หรือส่งเสียง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการ ไม่สุภาพ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ในการสร้างความประทับใจให้กับแขก พนักงานบริการควรจดจำคำวิเศษที่นิยมใช้กัน 5 คำ ดังนี้

•ก่อนจะรบกวนใครทำอะไร ควรพูดคำ “ขอโทษ” (Excuse Me)
•หากมั่นใจว่าสิ่งที่ลูกค้าขอนั้นเราสามารถจัดหาหรือทำได้โดยไม่ยุ่งยากนัก ควรพูดว่า “ได้ครับ” (Certainly)
•เมื่อทำผิดพลาดควรพูดว่า “ขอโทษ” (I’m Sorry)
•เมื่อมีใครทำอะไรให้เรา ควรกล่าวคำ “ขอบคุณ” (Thank You)
•เมื่อมีแขกกล่าวคำขอบคุณเรา เราก็ควรบอกว่า “เรายินดีที่จะให้บริการ (You’re Welcome)
เทคนิคเหล่านี้ไม่ยาก และยังจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับแขกติดใจในบริการ ต้องการที่กลับมาใช้บริการที่ร้านอาหารของคุณอีก หรือดีกว่านั้น เขาอาจบอกต่อเพื่อน ๆ ให้มาใช้บริการร้านคุณอีกด้วย

หลักปฏิบัติในการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า

เพื่อให้งานบริการมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจบริการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสำรวจความพอใจของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจภัตตาคาร ห้องอาหาร โรงแรมต่าง ๆ นิยมตรวจสอบคุณภาพการ
บริการ เพื่อทราบความต้องการของลูกค้าที่มาใช้บริการ ในแต่ละมื้อว่าเป็นอย่างไร โดยใช้แบบฟอร์มแสดง
ความคิดเห็น (Comment Card) หรือการสอบถามความพอใจขณะที่แขกกำลังใช้บริการอยู่ เช่น การ
สอบถามรสชาติของอาหารว่าเป็นอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแขกมักจะตอบกลับมาอย่างเกรงใจว่าอาหาร
รสชาติดี หรือพอใช้ได้

แต่หากไม่มีการทำสำรวจความพอใจของลูกค้าเลย เราก็จะไม่ทราบจุดบกพร่อง เช่น อาหารช้า อาหารไม่อร่อย
หรือพนักงานไม่สุภาพ บริการไม่ดี เราก็จะไม่รู้เลยว่า เหตุใดลูกค้าจึงลดน้อยลง เนื่องจาการไม่กลับมาใช้บริการอีกในครั้งต่อไป

มีหลักปฏิบัติในการสำรวจความพอใจของลูกค้ากล่าวไว้ ดังนี้

1.ควรถามความเห็นของแขกในห้องอาหารอย่างน้อย 1 ครั้งระหว่างการบริการ
2.ถ้าแขกให้ความเห็นไปในทางที่ดี พนักงานต้องกล่าวคำขอบคุณแขก หรือถ้าแขกให้ความเห็นไปในทางลบ พนักงานก็ต้องรีบกล่าวคำขอโทษแขกทันที
3.เมื่อเข้าไปสำรวจความพอใจ ต้องสนใจในสิ่งที่แขกพูด ไม่ใช่ไปโต้เถียงกับแขก
4.ระวังอย่าทำการสำรวจความพอใจเร็วเกินไป หรือล่าช้าเกินไป เช่น แขกกำลังจะออกภัตตาคารแล้ว
5.การไม่กล่าวคำขอโทษแขกเมื่อแขกไม่พอใจ
6.เมื่อสอบถามความพอใจแขกเรียบร้อยแล้ว ไม่ควรยืนอยู่ หรือพูดต่อ หรือจ้องมองแขกทานอาหาร
โรงแรมชั้นนำต่าง ๆ ก็ล้วนแต่มีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าทั้งนั้น และเมื่อเกิดข้อพลาดประการใด ทางโรงแรม
จะทำการบันทึกเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด อีกเป็นครั้งที่สอง ไม่ว่าแขกต้องการอะไรบริกรก็จัดหามาให้อย่างรวดเร็ว มีการทำงานกันเป็นทีมดีเยี่ยม อาหารแต่ละจานเสิร์ฟได้ทันเวลา เหมือนกับจับเวลาระหว่างจาน เอาไว้ไม่มีหยุดชะงักหรือขาดตอน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ ผู้จัดการก็จะเข้ามาทักทายและชวนคุยเรื่องทั่วไป พร้อมกับชวนให้แขกกลับมาใช้บริการอีกในมื้อหรือวันถัดไป

การเอาใจใส่ในบริการ การสำรวจความพึงพอใจ การสร้างความประทับใจให้ลูกค้ารู้สึกว่าภัตตาคาร โรงแรม เป็นเสมือนบ้านหลังที่สองของแขกเช่นนี้เอง ที่จะได้รับการกล่าวขาน ยอมรับ ชื่นชม และสามารถครองใจลูกค้าไปได้อีกยาวนาน
มารยาทในการกล่าวทักทายแขก

พนักงานโรงแรม พนักงานต้อนรับ บริกรจะต้องกล่าวทักทายแขกเมื่อแขกเดินเข้ามาในระยะ 1.5 เมตร พร้อมรอยยิ้มและสบตาภายใน 10 วินาที โดยพูดว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ” พร้อมยกมือไหว้ให้ถูกต้องตามหลักการไหว้แบบไทย โดยในโรงแรมระดับหรู รวมถึงร้านอาหาร หรือภัตตาคารชั้นดี จะใช้เทคนิคสร้างความประทับใจด้วยการกล่าวทักทายและตามด้วยชื่อแขก “สวัสดีครับคุณ...” ยิ่งพนักงานจำชื่อแขกได้มากเท่าไร ยิ่งสร้างความประทับใจได้มากเท่านั้น หากเป็นภัตตาคารหรือโรงแรมที่มีลูกค้าชาวต่างชาติมาก ให้กล่าวทักทายเป็นภาษาของแขกชาวต่างชาติคนนั้น เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศษ สเปน ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และควรกล่าวให้ถูกต้องตามหลักการทักทายของภาษานั้น ๆ ด้วย
ข้อควรระวังที่มักจะไม่กระทำกันคือ

•ห้ามเรียกชื่อแขกผิดเด็ดขาด หากไม่มั่นใจชื่อลูกค้าควรกล่าวทักทาย สวัสดีครับ/ค่ะ และยกมือไหว้ตามปกติเท่านั้น
•อย่ากล่าวทักทายเป็นภาษาต่างประเทศแล้วตามด้วยการไหว้แบบไทย เพราะเป็นการขัดกันทางวัฒนธรรม ถ้าจะยกมือไหว้ก็ควรกล่าวทักทายแบบไทย แต่ถ้าจะกล่าวทักทายเป็นภาษาต่างประเทศก็ควรตามด้วยการจับมือ ตามวัฒนธรรมตะวันตก
•อย่างไรก็ดี การที่ชาวต่างชาติมาเที่ยวเมืองไทย เข้าร้านอาหารไทย พวกเขาย่อมต้องการการต้อนรับแบบไทย ๆ และการทักทายแบบไทยแท้มากกว่า
•ไม่สนใจแขก ไม่ทักทายแขก ให้แขกเดินหาโต๊ะเอง หรือแกล้งทำเป็นไม่เห็นแขก แสดงท่าทางกลัวหรือหลบแขกชาวต่างชาติ
•โบกมือหรือทำท่าล้อเลียนแขก แสดงความเป็นกันเองกับแขกมากเกินไปก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะพนักงานไม่ควรทำตัวเสมอแขก
•ทักทายแขกด้วยเสียงแผ่วเบาเกินไป อาจทำให้แขกไม่ได้ยิน หรือตะโกนทักทายจากระยะไกล อาจทำให้แขกตกใจ บางครั้งอาจเป็นการตะโกนข้ามศีรษะแขกท่านอื่น ซึ่งเป็นมารยาทที่ไม่เหมาะสม
•ใช้คำภาษาอังกฤษ ที่แสดงถึงการยกตนเสมอกับแขก เช่น Hi, Hello, How you? หรือ Good Morning Mr. เฉย ๆ โดยไม่ตามด้วยชื่อแขก ซึ่งอาจเกิดจากการจำชื่อแขกไม่ได้
การรับรองแขก หรือการให้บริการที่น่าประทับใจนั้น เริ่มตั้งแต่การสร้างความประทับใจครั้งแรก ดังภาษิตที่ว่า “You only have one chance to make a gook first impression” งานบริการที่ดีคือการสร้างความประทับใจครั้งแรกที่ได้พบ ดังนั้นควรเริ่มจากการกล่าวทักทายอย่างถูกต้องพร้อมด้วย รอยยิ้มที่งดงามตามแบบไทย
แผนกครัว

1.ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม มีหน้าที่สรรหา คัดเลือกและฝึกอบรมพนักงาน วางแผนและควบคุมการจัดซื้อ ของ ดูแลให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปอย่างราบรื่นโดยมีมาตรฐานสูง ตลอดจนกำหนดและควบคุมงบประมาณ ที่เกี่ยวข้อง
2.กุ๊กใหญ่ หรือ หัวหน้าแผนกครัว (Head Chef or Executive Chef) สำหรับคนที่อยู่ในตำแหน่งนี้จะไม่ค่อยได้ทำอาหารเอง เพราะจะเป็นคน คอยกำกับดูแล และควบคุมใบสั่งอาหารที่เข้ามา โดยจะบอกกุ๊กแต่ละคนที่มีหน้าที่ในการเตรียมสิ่งของพวกนี้ อีกทั้งกุ๊กใหญ่ต้องคอย ตรวจสอบไม่ให้พนักงานใช้ของแบบทิ้งๆ ขว้างๆ อีกด้วย และต้องดูแลให้ห้องครัวอยู่ในสภาพที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และอาหาร ที่ทำออกมาต้องมีคุณภาพและมาตรฐานสูง ความรับผิดชอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ฝึกอบรมพนักงาน และต้องเป็นครูที่ดีด้วย ไม่อย่างนั้น ตัวเองจะต้องเหนื่อยมาก เพราะกุ๊กที่มีฝีมือดีมักจะถูกทาบทามไปทำงานในโรงแรมอื่นด้วยค่าจ้างที่สูงกว่า ความเป็นครูกับลูกศิษย์จะช่วย รักษากุ๊กไว้ให้ทำงานอยู่กับตัวเองไปได้อย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง
3.รองกุ๊กใหญ่ หรือรองหัวหน้าแผนกครัว (Second Chef or Sous Chef) จะทำหน้าที่ช่วยกุ๊กใหญ่ในงานต่างๆ หรือรักษาการแทน เมื่อกุ๊กใหญ่ไม่อยู่ ซึ่งงานหลักๆ ก็คือ การตรวจสอบว่าของต่างๆ ที่ต้องใช้ประกอบอาหารที่สั่งไว้นั้นมาครบหรือยัง และเช็คว่ากุ๊กหน่วยต่าง ๆ ในครัวรู้หรือไม่ว่าจะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละมื้อแต่ละวัน



4.หัวหน้าครัวหรือหัวหน้าหน่วยในครัว (Section Chef หรือ Chef de Partie) ในแผนกนี้จะแบ่งเป็นแผนกออก มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดของโรงแรมหรือห้องอาหารนั้นๆ จึงมีหัวหน้ากุ๊กที่ดูแลรับผิดชอบเป็นแผนกๆ ไปเรียกรวมๆ ว่า Chef de Partie โดยชื่อแผนก และตำแหน่งต่างๆ ในครัวนิยมเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสเหมือนสมัยก่อน ซึ่งจะใช้กับเฉพาะห้องอาหารที่มีผู้จัดการค่อนข้างอนุรักษ์นิยม โดยมีดังนี้


•หัวหน้าหน่วยผัก (The Vegetable Chef) หรือเรียกว่า Chef Entremettier (เชฟ ออง เตรอะเมดิเยอร์)
•หัวหน้าครัวขนมอบ (The Pastry Chef) เรียกว่า Chef Patissier ( เชฟ ปาติซิเยร์)
•หัวหน้าครัวอบ-ย่าง (The Rousseur Chef) เรียกว่า Chef Rotisseur (เชฟ โรติเซอร์)
•หัวหน้าครัวเย็น หรือ หัวหน้าที่ดูแลห้องเก็บอาหาร (The Chef in charge of the larder or cold kitchen) เรียกว่า Chef Garde-manger (เชฟ การ์ด มองเซร์)
•หัวหน้าหน่วยปลา (The Fish Chef) เรียกว่า Chef Poissonnier (เชฟ ปัวซอง นิเยร์)
•หัวหน้าหน่วยซอส (The Sauce Chef) เรียกว่า Chef Saucier (เชฟ โซซิเยร์)
5.กุ๊กหมุนเวียน (Rellet Chef หรือ Chef Toumant) หรืออีกชื่อคือ เชฟ ตูร์น็อง มีหน้าที่ทำงานแทนเวลาหัวหน้ากุ๊กหน่วยต่างๆ ไม่อยู่ ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีความชำนาญในงานของหลายๆ ครัว แม้ว่าจะไม่เก่งทุกด้าน แต่ก็สามารถที่จะทำได้อย่างไม่ติดขัด
6.ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef) มีหน้าที่คอยช่วยงานของหัวหน้ากุ๊กในหลายๆ ด้าน แต่เป็นงานที่ไม่ต้องการความชำนาญอะไรเป็นพิเศษ
7.กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef) เป็นกุ๊กที่อาวุโสน้อยที่สุด มักจะเป็นพนักงานที่เพิ่งเข้ามาไม่นาน แต่หากทำงานยิ่งมี ประสบการณ์มากขึ้น ก็จะได้รับเข้าเป็นตำแหน่งไปตามลำดับชั้นของตำแหน่งในครัว
8.พนักงานทำความสะอาดในครัว (Kitchen Porter/Kitchen Assistant) มีหน้าที่ดูแลครัวให้สะอาดและถูกสุขลักษณะ โดยงานหลักคือ ล้างหม้อกระทะ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ภายในครัว จาน ชาม นำขยะไปทิ้ง ทำความสะอาดพื้น และตามกำแพงต่างๆ รวมถึงขนของ ที่มีคนนำมาส่งไปจัดเรียงไว้ที่ชั้นเก็บของหรือใส่ไว้ตามถังเก็บหรือนำเข้าไปแช่ในตู้เย็น



การจัดองค์กรของกิจการโรงแรม

การจัดองค์กรของงานการโรงแรม สามารถแบ่งการบริหารงานเป็นส่วนต่าง ๆ ได้ดังนี้

1.คณะกรรมการบริหาร (Board of Director) จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจากผู้ถือหุ้นของกิจการ โดยคณะกรรมการบริหารนี้มีหน้าที่เพื่อกำหนดนโยบายของการบริหารงานโรงแรมเพื่อให้การดำเนินงานภายในโรงแรมเป็นไปอย่าง คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถตรวจสอบและแก้ไขในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

2.ผู้จัดการทั่วไป (General Manager) เป็นบุคคลที่ได้รับคัดเลือกมาจากคณะกรรมการบริหาร ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป ซึ่งบุคคลดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารหรือเป็นบุคคลภายนอก ที่คณะกรรมการบริหารเชิญมาดำรงตำแหน่งให้ เงินเดือนเป็นค่าตอนแทน เพราะคนที่จะเป็นได้ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ โดยหน้าที่และ รับผิดชอบของผู้จัดการทั่วไปคือ
•กำหนดเป้าหมาย (Targeting) ของโรงแรม
•วางแผนการดำเนินงาน (Planning) ของทุกฝ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
•มอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างถูกต้องและเหมาะสม (Assigning)
•สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีภายในโรงแรม(Communication)
•ปรับปรุงการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ในโรงแรม (Evaluation & improvement)
•จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรภายในโรงแรม (Training)



3.ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป (Assistant General Management) เป็นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากกรรมการบริหาร หรือจาก บุคคลภายนอกกลุ่มบริหารก็ได้ เพราะผู้ช่วยผู้จัดการนั้น จะต้องมีความรู้ความสามารถ ในการบริหารงานโรงแรมเช่นเดียวผู้จัดการทั่วไป แต่ประสบการณ์ในการบริหารงานโรงแรมนั้นอาจจะน้อยกว่าผู้จัดการทั่วไป ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้จัดการมีดังนี้
•ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการทั่วไป
•สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายต่างๆ ภายในโรงแรม
•ตรวจสอบผลการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำวิธีการปฏิบัติงานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน


4.ผู้จัดการประจำฝ่ายต่างๆ (Resident Manager) เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการบริหารงานในระดับฝ่าย ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้
•มีความรับผิดชอบในทรัพย์สินของฝ่ายตน
•ดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานภายในฝ่ายของตนอย่างใกล้ชิด
•ให้คำปรึกษากับพนักงานภายในฝ่ายของตน
•รายงานผลการปฏิบัติของฝ่ายที่ตนรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชา





มารยาทบนโต๊ะอาหารไทย

ปกติแล้วเราจะเคยได้ยินแต่การเปิดสอนมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบตะวันตกกัน เพื่อที่จะได้ไม่เขินหรือทำผิดๆ ถูกๆ แต่ก็ไม่ได้สอนมารยาทไทยบนโต๊ะอาหารเหมือนกับฝรั่งบ้าง ซึ่งคนไทยก็มีวิธีการกินโดยใช้ช้อน และส้อมเช่นกัน

ช้อนและส้อมเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการกินของคนไทยแล้ว การจัดโต๊ะอาหารแบบไทยจึงมีช้อนกับส้อมจะวางคู่กันทางขวามือของจาน โดยส้อมจะอยู่ซ้าย และช้อนจะอยู่มือขวา หรือจะวางสลับกันเพื่อคนที่ถนัดซ้ายก็ได้ ซึ่งการใช้ช้อนส้อมของคนไทยนั้นมีธรรมเนียมแตกต่างจากพวกยุโรปและอเมริกาตรงที่คนไทยจะใช้ช้อนในการตักข้าวเข้าปาก แต่สำหรับคนยุโรปจะใช้ส้อมตักข้าวแทน ซึ่งตรงนี้ดูแล้วรู้สึกว่าจะไม่เหมาะเพราะข้าวของไทยเราร่วนไม่เกาะติดกันเป็นก้อนแบบข้าวจีนหรือญี่ปุ่นที่เหมาะกับการใช้ตะเกียบคีบหรือการพุ้ยใส่ปาก

การเสริฟอาหารแบบไทยจะมี 2 ลักษณะ คือ แบบแรกจะเป็นการจัดสำรับเฉพาะคน โดยต่างคนต่างมีชุดของตนเอง ไม่เกี่ยวกับใคร เพราะสมัยโบราณคนไทยมีครอบครัวใหญ่ มีคนเยอะ ลูกเยอะ ครัวเลยต้องใหญ่ตามไปด้วย แต่จะให้กินกันแบบพร้อมหน้าพร้อมตาคงจะยาก ในครัวเลยจัดสำรับส่งไปให้ตามที่พักของแต่ละคน เมื่อรับประทานเสร็จก็เก็บมา

ลักษณะที่สอง จะเป็นแบบนั่งล้อมวงกัน โดยมีกับข้าวอยู่กลางโต๊ะ คนรับประทานจะมีจานข้าวของใครของมัน แต่กับข้าวนั้นจะตักใส่จานจนครบแล้วลงมือกิน แต่คนไทยเป็นชาติที่กินข้าวทีละคำ โดยมีการจัดวางกับข้าวที่ต้องการจะกินลงบนข้าวแล้วใช้ช้อนตักข้าวและกับนั้นด้วยปริมาณที่พอเหมาะ โดยมี “ส้อม” เป็นตัวช่วยเขี่ย แต่งให้ข้าวและกับที่ต้องการอยู่ในช้อนพอคำก่อนจะส่งเข้าปาก

การจับช้อนส้อม ก็ไม่ต้องกำให้แน่นมาก การจับด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้เป็นหลัก โดยมีนิ้วที่เหลือเป็นตัวรองรับน้ำหนักช้อน โดยข้อศอกจะไม่ยกขึ้นมาวางบนโต๊ะซึ่งจะเหมือนกับมารยาทบนโต๊ะอาหารหลายๆ ชาติ

เมื่อต้องการตักอาหารมาใส่จานตนเองจะใช้ช้อนกลางตัก ไม่ใช้ช้อนของตนตัก หรือถ้ามีแกงจืดที่ต้องการซดน้ำ ก็จะใช้ถ้วยแบ่งเล็กๆ ถ้าไม่มีก็ให้ใช้ช้อนกลางตักมาใส่ช้อนตัวเอง และที่สำคัญเวลาซดน้ำแกงต้องไม่มีเสียงดัง การเคี้ยวก็จะปิดปาก ไม่เคี้ยวอาหารให้มีเสียงดังแจ๊บๆ หรือพูดคุยขณะอาหารอยู่ในปาก หรืออ้าปากโดยที่ผู้อื่นมองเห็นอาหารในปาก การคายก้างหรือเศษอาหารในปาก จะคายลงช้อนก่อน แล้วนำวางไว้ที่ขอบจาน หากมีเศษอาหารที่ไม่ต้องการรับประทานหลงเหลืออยู่ในจานเมื่อรับประทานเสร็จก็ใช้ช้อนส้อมกวาดมากองไว้รวมกัน

เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็จบด้วยการรวบช้อนและส้อมเข้าหากัน โดยวางคู่กันในจานคล้ายเลขสิบเอ็ด ซึ่งจะหมายถึงเรารับประทานเสร็จแล้ว ถ้าหากไปงานเลี้ยงแล้วพนักงานเสริฟคอยตักข้าวเติมให้ตลอด ทั้งๆที่อิ่มแล้ว ก็มองดูในจานข้าวว่าช้อนส้อมว่างยังไง

ใครนั่งหัวโต๊ะ

เมื่อเราไปรับประทานข้าวกับเพื่อนๆ แล้วต้องมีเพื่อนในกลุ่มพูดว่า “ใครนั่งหัวโต๊ะ คนนั้นจ่าย” ซึ่งเป็นประโยคยอดฮิต บางคนก็พูดเล่นๆ แต่บางคนก็หมายความตามที่พูดจริงๆ ฉะนั้นหัวโต๊ะเป็นตำแหน่งที่ใครๆ ก็ไม่อยากจะนั่ง แต่ไม่ใช่เฉพาะบนโต๊ะอาหารเท่านั้นโต๊ะอื่นๆ ก็เป็นด้วยเช่นกัน เพราะเป็นธรรมเนียมที่ทราบกันดีว่า “หัวโต๊ะเป็นที่นั่งของเจ้าภาพหรือประธานในที่ประชุม” ไม่ว่าจะเป็นหัวโต๊ะชาติไหนก็ตามก็ถือว่าสิ่งนี้เป็นธรรมเนียมไปแล้ว ดังนั้นเวลาเห็นคนมารวมกันที่โต๊ะในห้องประชุมหรือห้องอาหาร เรามักจะบอกได้ทันทีว่าใครคือคนสำคัญที่สุดในที่นั้น

การที่จะมี “หัวโต๊ะ” ได้นั้นต้องมีโต๊ะที่เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือมีการจัดโต๊ะให้ใกล้เคียงกับลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า คือมีส่วนกลางที่ทอดยาวออกไป เพราะโต๊ะแบบอื่นๆ ไม่มีส่วนจะเรียกได้ว่าเป็น “หัว” อย่างเช่นโต๊ะสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีทุกด้านเท่ากัน ซึ่งทุกคนก็จะนั่งเท่าเทียมกันหมด และนั่งตรงไหนก็ได้

ถ้าเป็นงานเลี้ยงแบบนั่งโต๊ะยาวที่เป็นพิธีการ ส่วนใหญ่จะมีแผนผังที่นั่งของแขกรับเชิญแสดงไว้อยู่แล้วก่อนเดินเข้าห้องอาหารและเมื่อเข้าไปแล้วก็ยังจะมีชื่อวางไว้ตรงตำแหน่งที่นั่งให้อีกด้วย ซึ่งเราควรดูแผนผังก่อนเดินเข้าไปจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาเดินหาเมื่อเข้าไปข้างในแล้ว

สำหรับงานที่ไม่ได้ระบุชื่อบนโต๊ะเอาไว้ ส่วนใหญ่เจ้าภาพจะกำหนดไว้ในใจแล้วว่าใครจะนั่งตรงไหนบ้าง จึงจะเป็นการเชิญให้นั่งด้วยวาจา แต่ถ้าได้ยินเจ้าภาพเชิญว่าให้เลือกตามสบาย ก็ไม่ใช่ว่าอยากจะนั่งตรงไหนก็นั่ง ถ้าเราไม่ใช่แขกคนสำคัญของงานแล้ว ก็ไม่ควรที่จะไปนั่งเก้าอี้หัวโต๊ะกับท้ายโต๊ะ หรือเก้าอีกใกล้หัวโต๊ะกับท้ายโต๊ะโดยเด็ดขาด (ส่วนของท้ายโต๊ะเราจะไม่เรียกว่าหางโต๊ะ) เพราะที่นั่งทั้งสองเป็นของเจ้าภาพชายและเจ้าภาพหญิงส่วนเก้าอี้ที่ถัดมาจากเจ้าภาพทั้งสอง จะเป็นที่นั่งของแขกคนสำคัญของงาน และแขกคนที่สำคัญที่สุดก็จะนั่งเก้าอี้ทางขวามือของเจ้าภาพชาย ที่สำคัญรองลงมาก็จะนั่งเก้าอี้ทางขวามือของเจ้าภาพหญิง

ส่วนมากถ้าคุณไปกันสองคนหรืออาจจะเป็นคู่สามีภรรยา เจ้าภาพที่รู้ธรรมเนียมก็จะไม่จัดให้นั่งด้วยกันเพราะนอกจากการรับประทานอาหารแล้วยังเป็นช่วงเวลาของการทำความรู้จักกับแขกคนอื่นๆ ที่มาร่วมงานด้วย แต่ถ้าหากเจ้าภาพไม่ได้กำหนดที่นั่งให้คุณ คุณก็สามารถที่จะนั่งด้วยกันได้ แต่ต้องอย่าลืมว่า แขกที่คุณนั่งติดกับคุณคือผู้ที่คุณต้องพูดคุยทำความรู้จักกับเขาด้วย ไม่ใช่คุยกันอยู่สองคน

สำหรับตำแหน่งตรงไหนที่เรียกว่า “หัวโต๊ะ” ตำแหน่งไหนที่เรียกว่า “ท้ายโต๊ะ” ก็ดูจากตำแหน่งของครัว เพราะคุณแม่บ้านจะนั่งด้านที่ติดกับครัวมากที่สุด เพื่อความสะดวกในการดูแลเรื่องอาหารให้กับแขก เพราะงานเลี้ยงที่จัดที่บ้านจะมีแขกที่รับเชิญจำนวนไม่มาก ซึ่งทุกคนสามารถพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง

ตำแหน่งหัวโต๊ะและท้ายโต๊ะ เป็นเรื่องของหน้าที่ความรับผิดชอบ เพราะดูจากใครที่นั่งตรงนั้นจะอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นความเป็นไปในโต๊ะอาหารได้ดีที่สุด และสามารถควบคุมดูแลความเป็นไปของงานเลี้ยง และจังหวะของกิจกรรมบนโต๊ะอาหารได้ดี เช่น รู้ว่าแขกนั้นมีความพอใจหรือไม่อย่างไร ใครต้องการอะไร ใครมีปัญหาในการรับประทานอาหารบางอย่างหรือไม่ ใครไม่กินอะไร ฯลฯ หัวโต๊ะจึงเป็นส่วนที่ต้องสงวนไว้สำหรับเจ้าภาพ ส่วนผู้ที่นั่งหัวโต๊ะจะต้องเป็นคนจ่ายเงินด้วยหรือไม่นั้น คำตอบก็คือถ้าเป็นเจ้าภาพก็คงต้องจ่ายไปตามระเบียบนั่นแหล่ะ

การทิป ... ธรรมเนียม หรือความพอใจ

ความหมายของทิป คือ เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้รับบริการมอบให้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่ให้บริการแก่ตนเอง โดยจ่ายเพิ่มให้เป็นพิเศษนอกเหนือการจ่ายค่าสินค้า หรือบริการที่ได้รับไปแล้ว

การทิปของแต่ละประเทศนั้นจะไม่เหมือนกันโดยแล้วแต่ประเทศนั้นจะรวมค่าทิปไปในบิลเรียกเก็บเงินหลังเช็คบิล หรือใช้บริการเสร็จ โดยในบิลจะระบุว่า “Service Charge” หรือ “ค่าบริการ” ไว้แล้ว ซึ่งจะกำหนดเป็นค่าร้อยละของยอดจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้แก่บริการนั้นๆ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 5-15เปอร์เซ็นต์

ซึ่งแต่ละประเทศมีการคิดค่าธรรมเนียมในการทิปที่แตกต่างกัน เช่นประเทศฝรั่งเศส มีกฎหมายให้ภัตตาคารสามารถบวกค่าบริการได้ ทำให้พนักงานเสิร์ฟที่ประเทศฝรั่งเศสมีเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี แต่สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาไม่บังคับ ทำให้รายได้ของพนักงานส่วนใหญ่ได้มาจากการทิป สำหรับเงินเดือนได้น้อยมาก ดังนั้นเมื่อไปกินอาหารที่ภัตตาคารที่ฝรั่งเศสที่ได้บอกค่าบริการไปแล้วในบิลจึงไม่ต้องให้ทิปเพิ่มอีก แต่ถ้าหากได้รับบริการที่ดีอาจจะให้เพิ่มตามความสมัครใจก็ได้ โดยปกติจะอยู่ประมาน 1-5 ยูโรต่อจำนวนสมาชิกในโต๊ะ

แต่สำหรับที่ประเทศไทยแล้วเฉพาะร้านอาหารใหญ่ๆ หรือสั่งอาหารตามโรงแรมมักจะเขียนบอกไว้ในเมนูอาหารอยู่แล้วว่ามีค่าบริการเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นกติกาสากล แต่ถ้าหากจะให้เพื่ออีกก็แล้วแต่เราเลยล่ะครับ

สำหรับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป จะมีธรรมเนียมในการทิปดังนี้
1. พนักงานยกกระเป๋าไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดควรได้ประมาณ 0.50 – 1 ยูโรต่อกระเป๋า 1 ใบ
2. แม่บ้านทำความสะอาดตามโรงแรมควรได้ประมาณ 1 – 1.50 ยูโรต่อวัน
3. ช่างทำผมควรได้ 10% ของค่าทำผม
4. พนักงานประจำห้องน้ำควรได้ประมาณ 0.30 – 0.50 ยูโร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะมีป้ายติดประกาศอย่างชัดเจนว่าต้องให้
5. ไกด์ท้องถิ่นที่พาเราเที่ยวในแต่ละสถานที่ควรได้ประมาณ 1 – 2 ยูโรต่อครั้ง และสำหรับไกด์ที่นำเที่ยวแบบหมู่คณะควรได้ประมาณ 2 – 5 ยูโรต่อทัวร์จากลูกทัวร์แต่ละคน
6. คนขับแท็กซี่ควรได้ประมาณ 10% ของค่าโดยสาร และคนขับรถบัสควรได้ประมาณ 1 - 2 ยูโรต่อวัน


อัตราเหล่านี้เป็นเหมือนราคากลางในการให้เท่านั้น ซึ่งจะให้มาก หรือให้น้อยก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของเราทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ และความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อพนักงานครับ
โรงแรมนี้กี่ดาว

มาตรฐานการให้ดาวของโรงแรมไทยนั้นมีตั้งแต่ระดับ 1 – 5 ดาว แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าโรงแรมที่เราไปพักอยู่นั้นได้กี่ดาววันนี้จึงได้ไปค้นหามาว่ามาตรฐานในการให้ดาวกับแต่ละโรงแรมนั้นต้องผ่านเกณฑ์ในการวัดใดบ้าง โดยไม่นับความสะอาดและความปลอดภัยของแต่ละโรงแรมทุกระดับต้องให้ความสำคัญและจำเป็นต้องมีอยู่แล้ว

มาตรฐานโรงแรมระดับ 1 ดาว เป็นโรงแรมที่เน้นการมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานทั่วไป อาทิ ห้องพัก ที่มีขนาดไม่เล็กกว่า 10 ตารางเมตร พร้อมเตียงขนาด 3 ฟุต กระจกแต่งหน้า ถังขยะ โต๊ะ เก้าอี้ และภายในห้องน้ำมีผ้าเช็ดตัวและกระดาษชำระไว้บริการ

มาตรฐานโรงแรมระดับ 2 ดาว มีเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในโรงแรม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไปเพื่อบริการ เช่น ห้องพักต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 14 ตารางเมตร มีตาแมว โซ่คล้องประตู พร้อมเตียงขนาด 3 ฟุต กระจกแต่งหน้า ถังขยะ โต๊ะ เก้าอี้ น้ำดื่ม โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้วขึ้นไป และโทรศัพท์ติดต่อภายใน ห้องน้ำแบบชักโครก มีผ้าเช็ดตัวและกระดาษชำระ เป็นต้น

มาตรฐานโรงแรมระดับ 3 ดาว ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกปานกลาง เช่น ห้องพักขนาดไม่น้อยกว่า 18 ตารางเมตร มีโทรทัศน์ขนาด 14 นิ้วขึ้นไป พร้อมรีโมทคอนโทรล ตู้เสื้อผ้า ไฟหัวเตียง เครื่องเขียน ในห้องน้ำมีอ่างอาบน้ำ มีระบบน้ำร้อน – น้ำเย็น สบู่ หมวกอาบน้ำ แก้ว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดเท้า ถุงใส่ผ้าอนามัย บริการอื่นๆ ที่มี เช่น รูมเซอร์วิส coffee shop ห้องประชุมและอุปกรณ์ที่จำเป็น business center ห้องน้ำสาธารณะ ห้องน้ำคนพิการ เป็นต้น

มาตรฐานโรงแรมระดับ 4 ดาว มีการตกแต่งที่สวยงาน พร้อมทั้งบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ห้องพักมาตรฐานกว้างกว่า 24 ตารางเมตร ภายในมีเตียงขนาดไม่น้อยกว่า 3.5 ฟุต โทรทัศน์ขนาด 20 นิ้ว ขึ้นไปที่มีรายการให้ชมมากกว่า 8 ช่องรายการ ตู้เย็น มินิบาร์ กาต้มน้ำร้อนพร้อมกาแฟและชา ชุดขัดรองเท้า ถุงซักผ้า เสื้อคลุมอาบน้ำ รองเท้าแตะ โทรศัพท์ที่สามารถโทรทางไกล / ต่างประเทศได้โดยตรง ห้องน้ำมีเครื่องใช้ครบถ้วน อุปกรณ์ในห้องน้ำที่เพิ่มเดิมจากระดับ 3 ดาว ได้แก่ Foam bath แชมพู ผ้าเช็ดมือ sewing kit ไดร์เป่าผม ปลั๊กไฟสำหรับโกนหนวด มีห้องชุดให้บริการ 2 แบบ นอกจากนี้มีห้องอาหาร ห้องออกกำลังกายที่มีอุปกรณ์มากกว่า 5 ชนิด ห้องอบไอน้ำ ห้องนวด สระว่ายน้ำ business center ห้องประชุมใหญ่ และห้องประชุมย่อยอีกไม่น้อยกว่า 2 ห้อง และมีระบบการตรวจเช็คและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย

มาตรฐานโรงแรมระดับ 5 ดาว มีการตกแต่งที่สวยงามทั้งภายนอก และภายใน เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และการบริการที่ดี อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี ห้องพักมาตรฐานกว้างกว่า 30 ตารางเมตร พร้อมเตียงสะอาดขนาดไม่น้อยกว่า 4 ฟุต โทรทัศน์ขนาด 20 นิ้วขึ้นไป และมีรายการให้ชมมากกว่า 12 ช่องรายการ ตู้เย็น มินิบาร์ และอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารที่ครบครัน ห้องน้ำขนาดใหญ่ สุขภัณฑ์มีความสะอาดและสวยงาม เครื่องใช้ครบถ้วน พร้อมเครื่องชั่งน้ำหนัก และโทรศัพท์ที่พ่วงอยู่ภายใน นอกจากนั้นมีห้องชุดให้เลือกพัก 3 แบบ มีห้องอาหารไทย และนานาชาติ ห้องออกกำลังกายที่มีอุปกรณ์มากกว่า 7 ชนิด ห้องอบไอน้ำ อ่างจากุสซี่ ห้องนวด สระว่ายน้ำ ห้องประชุมใหญ่และมีอุปกรณ์ครบ พร้อมห้องประชุมเล็กไม่น้อยกว่า 4 ห้อง มีระบบการตรวจเช็คความปลอดภัยและอุปกรณ์ที่ทันสมัย
จะทำงานสายโรงแรม ต้องเรียนรู้ลักษณะของธุรกิจก่อน

ลักษณะเฉพาะของที่พักแรม ที่พักแรมจะมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างจากสินค้าประเภทอื่นๆ ดังนี้คือ

1.สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวนจำกัด ( Fixed Capacity )
ไม่ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต้องการห้องพักมากหรือน้อย ที่พักแรมประเภทต่างๆ
ก็สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เท่ากับจำนวนห้องพักที่มีอยู่เท่านั้น

2.สูญเสียผลประโยชน์ได้โดยง่าย ( Oerishability ) เนื่องจากที่พักแรมสามารถรองรับนักท่อง
เที่ยวได้ไม่เกินจำนวนห้องพักที่มีอยู่ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ห้องพักว่างไม่มีคนพัก จะทำให้ที่พักแรมนั้นสูญเสียรายได้ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว ( Low Season ) ซึ่งต่างกับสินค้าทั่วไป
ถ้าเหลือขายไม่หมดก็เก็บไว้ขายในโอกาสต่อไป

3. เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ ( Intangible Nature Of Service ) เนื่องจากเป็นโรงแรมงานบริการ
จึงไม่สามารถจะจับต้องสินค้าได้ เช่น จับต้องไม่ได้ว่าการบริการดีแค่ไหน ห้องสะอาดแค่ไหน ฯลฯ

4. ขบวนการผลิต ( Production Method ) วิธีการผลิตของสินค้าบริการจะไม่ซับซ้อนเหมือนการผลิตสินค้าทั่วๆไป ผู้บริโภคสามารถบริโภคที่จุดผลิตได้เลย และไม่สามารถควบคุมมาตรฐานได้แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการและรับบริการว่ามีความต้องการสอดคล้องกันหรือไม่ ผลสำเร็จจากกการขายคือ ความพอใจ ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เหมือนกัน

5. ช่องทางการจัดจำหน่าย ( Distribution Channal ) สำหรับสินค้าทั่วไปช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีขั้นตอนดังนี้คือ จากผู้ผลิต ( Producer ) ไปสู่ผู้ค้าส่ง ( Wholesaler ) ต่อไปถึงผู้ค้าย่อย ( Retailer ) แล้วจึงผ่านไปถึงผู้บริโภค ( Consumer ) แต่สินค้าบริการหรือลักษณะของโรงแรมถึงแม้จะมีการผ่านมือนายหน้าซึ่งได้แก่ ตัวแทนจำหน่าย ( Travel Agent ) หรือหน่วยงานอื่น ๆ แต่สินค้าลักษณะนี้ก็ไม่สามารถจับต้องหรือมองเห็นสินค้าได้ จนกว่าผู้บริโภคจะเข้าไปใช้บริการเอง

6. ต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่คงที่แน่นอน ( Cost Determinant ) บริการของโรงแรมสามารถเปลี่ยนแปลงตามความมต้องการของลูกค้าได้และประเภทของลูกค้า ซึ่งลูกค้าจะเป็นผู้เสี่ยงในการเลือกซื้อบริการ ดังนั้นจึงไม่สามารถคำนวณต้นทุนของสินค้าได้แน่นอน

7. เป็นสินค้าที่ต้องใช้แรงงานมนุษย์ ( Labour ) โรงแรมจะผลิตสินค้าบริการขึ้นมาต้องอาศัยพนักงานในการผลิต ดังนั้นที่จะผลิตให้ได้มาตรฐานเหมือนกันหมดจึงค่อนขางยาก เพราะความสามารถของมนุษย์ไม่เท่ากัน แม้โรงแรมแต่ละโรงแรมจะตั้งมาตรฐานในการให้บริการของพนักงานไว้ ซึ่งต่างกับการผลิตสินค้าส่วนใหญ่จะผลิตจากเครื่องจักร จึงทำให้สินค้าออกมามีคุณภาพเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันที่สุด




ลักษณะพิเศษของงานโรงแรม

1.งานโรงแรมเป็นงานลักษณะทีมเวิร์ค ( Hotel work is teamwork )
2.เวลาทำงานไม่เหมือนชาวบ้าน ( Unusual , working hour )
3.ความกดดันในการทำงาน ( Pressure of work )
4.การสื่อสารสำคัญยิ่งยวด ( Communication is vitally Important )
- ออกคำสั่ง
- แสดงความคิดเห็น
- จดหมายหรือบันทึกข้อความ
- กรอกใบสั่งซื้อ
- จดข้อความหรือฝากข้อความ
5.ทำงานกับคนหลายจำพวก ( Dealing with all sorts of people )
6.เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไม่คาดคิด ( Prepared for unexpected problem )
7.ความสุภาพอ่อนน้อมคือคำตอบ ( Courtesy is the answer )
8.ผลตอบแทน ( Instant Compensation )
9.บรรยากาศที่เต็มไปมีชีวิตชีวาและความอบอุ่น ( Full of life & warmth )
-โรงแรมมีสีสันสวยงาม รสนิยมการตกแต่ง
-โรงแรมมีชีวิต มีผู้คนตลอดเวลา
-โรงแรมอบอุ่น ทำงานเป็นทีมใกล้ชิด
10.เป็นงานบริการ ( Service type of work )
11.มีเซอร์วิสชาร์จ เป็นรายได้ที่มาจากค่าบริการ ประมาณ 10 % ของรายได้จากลูกค้านำมาเฉลี่ยจ่ายให้กับพนักงานทุกคนเป็นสัดส่วนตามเงินเดือนประจำทุกเดือน ซึ่งการมีเซอร์วิสชาร์ตมีข้อดีคือ
- เสียภาษีน้อยลง
- อัตราค่าห้องไม่สูง
12.ข้อห้ามสำหรับพนักงานมีมากกว่า ( More Prohibitive staff regulation )
1.) ห้ามใช้บริการของโรงแรมที่จัดไว้ให้แขก เพราะแขกไม่พอใจ เหมือนไม่เต็มใจบริการ , เห็นความแตกต่างมาตรฐานการบริการผิดปกติ
ยกเว้น กรณีที่ผู้บริหารพาแขกไปทานข้าวและเป็นการตรวจสอบคุณภาพบริการมาตรฐาน
2.) ไม่ขอทิปจากแขก
3.) ไม่ทำตัวสนิทสนมกับแขก
4.) ไม่พาแขกไปซื้อของ
5.) ไม่สอดรู้สอดเห็นเรื่องของแขก
6.) ไม่ซุบซิบนินทาแขก หัวเราะ
7.) ไม่เสนอบริการอื่นที่ไม่ใช้บริการของโรงแรม
8.) ไม่เก็บรักษาของมีค่าที่บังเอิญเก็บได้




แก้ว ปัจจัยสำคัญ ที่บาร์เทนเดอร์ไม่ควรมองข้าม
แก้วชนิดเดียวกัน อาจจะมีชื่อเรียกขานได้หลายชื่อ แต่ด้วยการใช้งานแล้ว เหมือนกันทุกอย่าง เรื่องความจุของแก้วแต่ละชนิด ความสำคัญอยู่พอสมควร แก้วบางชนิด มีรูปทรงเดียวกัน แต่ขนาดต่างกันลิบลับ เช่นแก้วHi-ball กับแก้ว Longdrink มีขนาดต่างกันเกือบเท่าตัว
1. แก้วมาร์ตินี่ (Martini glass)
ปัจจุบันมีการนำแก้วมาร์ตินี่มาใส่เหล้าค็อกเทล และเหล้าเพียวๆ (Straight up) อย่างแพร่หลายจนยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นแก้วสำหรับยุคสมัยใหม่โดยแท้ ด้วยการออกแบบให้มีก้าน ทรงยาว และมีตัวแก้วไว้ใส่เหล้า ซึ่งค่อนข้างคลาสสิคอีกชนิดหนึ่ง แก้วมาร์ตินี่น่าจะได้มีการเตรียมไว้สองขนาด ก็คือ แบบ Single martini ขนาดความจุ 2-3 ออนซ์ สำหรับใส่เหล้าตัวเดียว และ แบบ Double martini ขนาดความจุ 3-4 ออนซ์ สามารถใส่เหล้าตัวถึง 2-3 ตัว

2. แก้วค็อกเทล (Cocktail glass)
เป็นแก้วที่ออกแบบมาไว้ใส่เครื่องดื่มค็อกเทลเป็นหลัก โดยที่ไม่นิยมบรรจุน้ำแข็งลงไป เพรามีความจุเพียง 6-7 ออนซ์ เครื่องผสมหลายๆชนิด หากต้องการเน้นสี และรสชาติที่คงที่จะนิยม ใส่แก้วชนิดนี้ เครื่องดื่มค็อกเทลที่พอรู้จักกันก็เช่น Margarita, Sidecar, Alexander

3. แก้วแชมเปญ ซอสเซอร์ (Champagne Saucer glass)
ปัจจุบันเมื่อมีการจัดงานเลี้ยงหรูๆ จะนิยมนำแก้วแชมเปญ ซอสเซอร์ นี้ มาตั้งวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ และเมื่อเทสปาร์คกลิ้ง ไวน์ลงมาบนแก้ยอดใบบนสุด น้ำสีเหลืองทองนั้น ก็จะไหลลงมา เหมือนม่านสีทองอำพัน แต่ไม่นิยมนำไปใส่แชมเปญ เพราะจะทำให้ฟองสวยๆ หายไปโดยเร็ว เครื่องดื่มค้อกเทลที่ใช้แก้วนี้ก็มีอยู่เช่น Gimlet, Vimlet ตระกูล Frozen ทั่วๆไป

4. แก้วทิวลิป แชมเปญ (Tulip Champagne glass)
จุดประสงค์หลักก็คือแก้วสำหรับใส่แชมเปญ เพราะต้องการอวดพรายฟองสวยๆ และต้องการเก็บก๊าซในแชมเปญให้นานขึ้น ความจุของแก้วจะประมาณ 6-7 ออนซ์ หากมีการนำไปใส่เครื่องดื่มค็อกเทลก็มักจะเป็นเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมด้วยสปาร์กกลิ้งไวน์ อยู่ด้วย เช่น Kir Royal

5. แก้วบรั่นดี (Brandy / Snifter / Balloon glass)
นิยมใช้ใส่บรั่นดีหรือเหล้าตัวเดียวเพียวๆ ที่เน้นด้วยกลิ่นหอม แก้วบรั่นดีนี้ ถูกออกแบบมาให้ถือด้วยฝ่ามือ เพราะต้องการให้มีการถ่าย อุณหภูมิความรัอนจากตัวเราไปสู่แก้ว เมื่อน้ำเหล้าในแก้วอุ่นขึ้น ก็จะส่งกลิ่นหอมพวยพุ่งออกมา เครื่องดื่มค็อกเทลที่ใช้แก้วนี้ก็เช่น B&B Straight-up, Cognac Straight-up, Rusty nail Straight-up

6. แก้วลิเคียว / คอร์เดียล (Liqueur / Cordial glass)
แก้วชนิดนี้มีความจุ 1 1/2 - 2 ออนซ์เท่านั้น การใส่เหล้าจึงมีที่ว่างสำหรับ 1-2 ตัวเท่านั้น ส่วนมาก จะเป็นเหล้าลิเคียว เพื่อไว้สำหรับดื่มหลัง หรือก่อนอาหาร แต่ก็มีค็อกเทลบางตัวที่ต้องใส่แก้วลิเคียวนี้ นั่นก็คือ Rainbow, B-52 และการดื่มแบบ Straight-up ทั่วๆไป

7. แก้วซาวร์ (Sour glass)
เป็นแก้วที่มีความจุ ประมาณ 4-5 ออนซ์ รูปทรงจะคล้ายกับลิเคียวแต่มีขนาดใหญ่กว่า มีไว้สำหรับการใส่เหล้าพอร์ต และเครื่องดื่มผสมไม่กี่ชนิด เช่น Whisky Sour หรือตระกูลซาวร์ต่างๆ

8. แก้วเชอร์รี่ (Sherry glass)
เป็นแก้วไวน์ที่มีรูปร่างสะโอดสะอง รู้จักกันดีในประเทศสเปน ชื่อ "copita" ซึ่งก็ถือเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ภาคภูมิใจยิ่งนัก การนำมาใช้สอยก็เพื่อให้เหมาะกับไวน์เชอร์รี่ที่ทำมาจากประเทศสเปนเช่นเดียวกัน ขนาดความจุจะอยู่ที่ 2-3 ออนซ์

9. แก้วมัก (Mug glass)
เป็นแก้วเบียร์ที่มีหูจับ นิยมนำไปใส่เบียร์สดตามเทศกาล หรืองานเลี้ยงต่างๆ เรื่องของความจุ ไม่น่าจะมีกฏตายตัวลงไป แต่น่าจะขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า ซึ่งขนาดยิ่งใหญ่ก็จะยิ่งใส่เบียร์ได้มาก เพราะอารมณ์ของลูกค้าอยู่ในช่วงของความผาสุข สนุกสนานอยู่แล้ว และผมเองยังมองไม่เห็นค็อกเทลชนิดใดที่ใช้แก้วนี้ นอกจากน้ำมะพร้าวอ่อนที่เฉาะใหม่ๆ ขนาดความจุโดยประมาณจะอยู่ที่ 10-14 ออนซ์

10. แก้วพิลสเนอร์ (Pilsner glass)
เป็นแก้วเบียร์อีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้ทั่วไปในภัตตาคาร และร้านอาหารต่างๆ ปากบานๆที่สูงขึ้นมาก็น่าจะเป็นการเปิดฟองของของเบียร์ ให้ผุดขึ้นมาน่ารับประทานยิ่งขึ้น มีค็อกเทลบ้างเหมือนกันที่นิยมใช้แก้วนี้ นั่นก็คือ Shandy, Mimosa และเครื่องดื่มตระกูลเบียร์ต่างๆ มีความจุโดยประมาณอยู่ที่ 10-14 ออนซ์

11. แก้วรองเท้าบูธ (Booth glass)
เป็นแก้วเบียร์รูปทรงแฟนซีอีกชนิดหนึ่ง ที่ยังมีใช้อยู่ในบางร้านอาหาร เพราะจะเป็นการสร้างบรรยากาศ และความครื้นเครงได้อย่างสนุกสนานอีกแบบหนึ่ง จะมีความจุอยู่ไม่จำกัด แต่ที่เหมาะสมก็จะอยู่ที่ 16-20 ออนซ์ 12. แก้วไวน์แดง (Red Wine glass)


โดยปกติแล้ว แก้วไวน์แดงที่เห็นดังรูปนี้ จะเหมาะกับไวน์แดงต่างชนิดกัน แต่โดยภาพรวมก็สามารถใช้ได้ทั่วไป ลักษณะของแก้วที่ดีต้องมีความใหญ่เพียงพอที่จะรินไวน์ได้พอประมาณ 2-3 คำ นั่นก็คือ ห้ามเกินครึ่งแก้วเด็ดขาด เมื่อผู้ดื่มต้องการรับรู้กลิ่นหอม อันอบอวลของไวน์อย่างชัดเจน จะต้องมีการกระตุ้นด้วยการแกว่งแก้ว ฉะนั้นแก้วไวน์แดงที่ดีจะต้องออกแบบมาให้กระทำสิ่งเหล่านี้ได้ ความจุประมาณ 8-10 ออนซ์




ประเภทเครื่องดื่ม ที่คนอยากเป็น บาร์เทนเดอร์ต้องรู้

เครื่องดื่ม (Beverage) ทั้งหมด ได้แบ่งแยกอกเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ คือ

1 เครื่องดื่มประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic)
2 เคื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอออล์ (Alcoholic)

หมวดที่ 1 เครื่องดื่มประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic)
"Non-Alcoholic" คือ เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ที่ต้องอธิบายถึง น้ำบริสุทธิ์ประเภท เพราะเมื่อถึงขั้นของการผสมเครื่องดื่มจริง ๆ เราจะต้องรู้จักวิธีการหยิบยกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เหล่านี้ ให้ไปคู่กับเหล้าชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ในหมวดของ "Alcoholic" นั่นเอง

1.น้ำเปล่า (Pure / Table Water) - น้ำเปล่าบริสุทธิ์นั้น ถือว่าเป็นฐานสำหรับเครื่องดื่มทุกชนิดทั้งที่มีแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ ฉะนั้นคุณภาพของเหล้าหรือเครื่องดื่มชนิดใดๆก็ตาม จะจับใจผู้ดื่มทุกคนไว้ได้ ก็ต้องมีปัจจัยจากน้ำเปล่าบริสุทธิ์นั่นเอง


2.ผลไม้ (Fruit) - ก็คือ ผมไม้สด (Fresh Fruit) และผลไม้กระป๋อง หรือบรรจุขวด (Canned or Bottled) ซึ่งรสชาติทั้งสอง จะมีความแตกต่างกัน แล้วแต่กรรมวิธีการผลิต บางท่านคงชอบกับผลไม้สดมากกว่า แต่ด้วยการทำงานจริงๆแล้ว เราจำเป็นต้องใช้ผลไม้ทั้งสองชนิดนี้ เหตุผลหลักก็จะเป็นด้วยด้วยต้นทุนค่าใช้จ่าย รสชาติ และการเก็บรักษา


3.สารปรุงแต่งสี และรสชาติ (Squart) - เป็นเครื่องดื่มอีกประเภทที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ในการให้สีกลิ่นและรสชาติที่มีความเข้มข้น เพื่อใช้ในการปรุง แต่งเครื่องดื่มผสมตามที่เราต้อง อาจใช้แทนน้ำเชื่อมรสชาติต่าง ๆ ก็ได้


4.น้ำเชื่อม (Syrup) – มี 2 ประเภทใหญๆ ก็คือ น้ำเชื่อมธรรมดา (Simple or Sugar Syrup) และน้ำเชื่อมรสผลไม้ (Fruit Syrup) ในส่วนของน้ำเชื่อมธรรมดา ก็คือ น้ำเชื่อมที่ได้จากการเคี่ยวน้ำตาลทรายขาวกับน้ำเดือด ตามส่วนผสมที่เราต้องการบางแห่งก็ใช้น้ำตาล 1 กิโลกรัม ค่อ น้ำเปล่า 1 ลิตร แล้วเคี่ยวจนได้ที่ แต่บางแห่งก็ต้องการความเข้มข้นมากกว่า ก็ให้ลดน้ำเปล่าลง และสำหรับน้ำเชื่อมรสผลไม้นั้น อาจจะสามารถแยกออกไปอีกตามรสชาติและที่มา ก็คือ

เกรนาดีน (Grenadine) เป็นน้ำเชื่อมที่มีกลิ่นหอมของทับทิม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ใช้บ่อยมาก
ออจีท (Orgeat) เป็นน้ำเชื่อมที่มีรสชาติของแอลกอฮอล์ ซึ่งบางตำราอาจผสมด้วยเครื่องเทศ หรือสมุนไพร บางชนิดเข้าไป
กลิ่นมะพร้าว (Coconut) เป็นน้ำเชื่อมที่มีรสชาติของมะพร้าว ซึ่งอาจจะได้จากการเคี่ยวกะทิ แล้วผสมด้วยน้ำตาล และนำไปผสมค็อกเทลอย่าง "Pina Colada" หรือผสมเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่มีกะทิ หรือไอศครีมเป็นส่วนผสม
คาสซีท (Cassis) เป็นน้ำเชื่อมที่มีกลิ่นหอมและรสชาติของลูกแบล็ค เคอร์แร้นท์ (Black currant)
พีช (Peach) เป็นน้ำเชื่อมที่มีกลิ่นหอมและรสชาติของผลลูกพีชสุก นำไปผสมในค็อกเทลบางชนิด ที่ต้องการเน้นกลิ่นหอมเป็นหลัก ยังมีบรรดาเหล่าน้ำเชื่อมผลไม้อีกมากมาย ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน หากแต่จะเหมาะกับสูตรค็อกเทลบางสูตร เช่น สับปะรด มะม่วง ลิ้นจี่ เชอร์รี่ ฯ


5.น้ำแร่ (Mineral Water) - สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ชนิดมีแก๊ซ และ ไม่มีแก๊ซ


6.น้ำอัดลม (Carbonate Water) - เป็นเครื่องดื่มรสชาติต่างๆที่ได้จากการสังเคราะห์สีและกลิ่น แล้วอัดแก๊ซ (Co2) เข้าไป เช่น Coca-cola, 7-up, Tonic, Ginger ale


7.ชา (Tea) - เครื่องดื่มประเภทชามีตำนานมายาวนาน เป็นพันๆ ปี ฉะนั้นจึงมีสูตรผสมบ้างเหมือนกันที่นำชามาประกอบ แต่ส่วนมากเราจะพบเห็นชานั้น เป็นส่วนประกอบหลัก แล้วนำรสกลิ่นต่าง ๆ มาปรุงแต่ง


8.กาแฟ (Coffee) - เป็นเครื่องดื่มอีกประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาร่ายยาวได้อีกเป็นตอน ๆ ฉะนั้นเรื่องราวของเครื่องดื่มไม่ว่าตำราไหนก็ตามจะขาดเสียไม่ได้ กับเครื่องดื่มระดับสากลอย่าง กาแฟ

หมวดที่ 2 เครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอล์ (Alcoholic)

สุราที่เกิดจากการหมัก (Fermented) - เป็นประเภทของเครื่องดื่มชนิดมีแอลกอฮอล์ ที่เกิดจากการหมักเป็นสำคัญ การหมักนั้น (Fermentation) ก็เกิดจากกระบวนการของการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ โดยน้ำตาลนั้นจะได้จากแป้ง หรือผลไม้นั่นคือ เบียร์ (Beer) และไวน์ (Wine) ซึ่งไวน์นั้นก็สามารถแบ่งไปได้อีก คือ
1 ไวน์ไม่มีฟอง (Still Wine - แบ่งเป็นไวน์แดง ไวน์ขาว และโรเซ่ ไวน์ )
2 ไวน์มีฟอง (Sparkling Wine)
3 ไวน์เสริมดีกรี (Fortified Wine) และ
4 ไวน์ปรุงแต่งด้วยสมุนไพร (Aromatized Wine - แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้อีก คือ เวอร์มูธ Vermouth, บิทเทอร์ Bitter,
อนิซ Anise)

สุราที่เกิดจากการกลั่น (Distilled Spirit) - เป็นประเภทของเหล้าที่เกิดจากการกลั่น จะมีความแรงของแอลกอฮอล์มากกว่า 40o (ในน้ำ 100 จะมีแอลกอฮอล์ 40 ส่วน) ลักษณะเด่นที่ได้จัดวางเหล้าแต่ละตัวไว้ในหมวดนี้ ก็ด้วยเหตุผลหลักของวิชาการผสมเหล้า เพราะศาสตร์ของ "Bartending" นั้น ส่วนมากจะมีเหล้าหลัก (Liquor base) และเหล้ารอง (Liquor flavour) ซึ่งหมวดเหล้าหลักจะมี

1.วิสกี้ (Whisky) - แบ่งได้เป็น สก๊อต วิสกี้ (Scotch Whisky), ไอริช วิสกี้ (Irish Whisky), เบอร์เบิน วิสกี้ (Bourbon Whiskey), คานาเดี้ยน วิสกี้ (Canadian Whisky)
2.บรั่นดี (Brandy) - แบ่งได้เป็นฟรุ๊ตบรั่นดี Fruit Brandy - เป็นบรั่นดีที่ทำมาจากผลไม้อื่นที่ไม่ใช่องุ่น, คอนญัค Cognac - เป็นบรั่นดีที่ทำมาจากองุ่นและต้องผลิตในเขตคอนญัค ของประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น และ อามาญัค Armagnac - เป็นบรั่นดีที่ทำมาจากองุ่น และผลิตในเขตอามาญัคของประเทศฝรั่งเศส
3.จิน (Gin) - เป็นเหล้าที่ทำมาจากเมล็ดข้าว แล้วปรุงแต่งด้วยสมุนไพรบางชนิด และลูกจูนิเปอร์
4.รัม (Rum) - เป็นเหล้ากลั่นที่ทำมาจากน้ำตาลอ้อย สามารถแบ่งออกได้ตามสี ก็คือ ขาวใส (Light), ทอง (Gold) และดำ (Dark)
5.วอดก้า (Vodka) เป็นเหล้ากลั่นที่ผลิตจากมันฝรั่ง แต่ปัจจุบันมีส่วนผสมของเมล็ดข้าวในบางยี่ห้อ
6.เตกีล่า (Tequila) - เป็นเหล้ากลั่นที่ผลิตจากต้น อกาเว่ (Agave)
7.อควาวิท (Aquavit) - เป็นเหล้ากลั่นที่ทำมาจากสมุนไพรและเมล็ดยี่หร่า (Caraway)
8.อารัค (Arak) - เป็นเหล้ากลั่นพื้นเมืองที่ผลิตมาจากน้ำตาลอ้อย


สุรากลั่นที่ปรุงแต่งรสชาติ (Flavoured Distilled / Liqueur) เป็นเหล้ากลั่นอีกประเภทที่มีการเสริมแต่งด้วยกลิ่นหอมชนิดต่างๆมากมาย ส่วนมากเป็นเหล้าที่มีรสหวาน ใช้ดื่มเพียวๆเพื่อเรียกน้ำย่อย หรือดื่มเพื่อย่อยอาหารก็ได้ ตามศาสตร์ของสูตรเหล้าทั่วๆไป จะนิยมใช้เป็นเหล้ารอง มีอัตราส่วนน้อยกว่าเหล้าหลักที่นิยมๆกัน มีดังนี้


1.Abricotine ทำมาจากลูกแอปพลิคอท Apricot
2.Advocaat ทำมาจากเหล้าบรั่นดี, ไข่แดง, Brandy, Egg Yolk
3.Agentarium ทำมาจากสมุนไพร Herbs
4.Aguardiente ทำมาจากชะเอม Licorice
5.Amaretto ทำมาจากผลอัลมอนด์ Almond
6.Anisette ทำมาจากชะเอม Licorice
7.Apricot Brandy ทำมาจากเหล้าบรั่นดี, แอปพลิคอท Brandy, Apricot
8.Atholl Brose ทำมาจากมอลท์ วิสกี้, น้ำผึ้ง, ครีม, ข้าวโอ๊ตบดหยาบ Malt Whisky, Honey, Cream, Oatmeal
9.Aurum ทำมาจากส้ม, สมุนไพร, Orange, Herbs
10.Bailey Irish Cream ทำมาจาก ช็อกโกแลต, ไอริช วิสกี้, ครีม, Chocolate, Irish Whisky, Cream
11.Barombeergeist ทำมาจากลูกแบล็คเบอร์รี่ฃ, Wild blackberries
12.Bénédictine ทำมาจากเครื่องเทศ, สมุนไพร, Spicies, Herbs
13.Blue Curaçao ทำจากส้ม
14.Calisay ทำมาจากสมุนไพร
15.Chartreuse ทำมาจากบรั่นดี, เครื่องเทศ, สมุนไพร, Brandy, Spicies, Herbs
16.Cherry Brandy ทำมาจากเหล้ากลั่น, เชอร์รี่ / Spirit, Cherry
17.Coconut Liqueur ทำมาจากมะพร้าว, เหล้ารัมสีขาว / Coconut, Light Rum
18.Cointreau ทำมาจากส้ม / Orange
19.Crème de Almond (Noyaux) ทำมาจากผลอัลมอนด์ / Almond
20.Crème d'Amandes ทำมาจากเหล้าบรั่นดี, ผลอัลมอนด์ / Brandy, Almond
21.Crème d'Ananas ทำมาจากเหล้ารัม, สับปะรด, น้ำตาลอ้อย / Rum, Pineapple, Sugarcane
22.Crème de Bananes ทำมาจากกล้วย,เหล้ากลั่นสีขาวใส / Banana, Pure Spirit
23.Crème de Cacao ทำมาจากช็อกโกแลต / Chocolate
24.Crème de Café ทำมาจากกาแฟ, เหล้ารัม / Coffee, Rum
25.Crème de Cassis ทำมาจากแบล็คเคอร์เรนท์, เหล้ารัม / Blackcurrant, Rum
26.Crème de Menthe ทำมาจากสะระแหน่, ผลไม้ตากแห้ง / Mint, Raisins
27.Crème de Mères ทำมาจากลูกแบล็คเบอร์รี่ / Blackberries
28.Crème de Noix ทำมาจากวอทนัท, น้ำผึ้ง / Walnut, Honey
29.Crème de Vanille ทำมาจากวนิลา, เหล้าวอดก้า / Vanilla, Vodka
30.Crème de Videtess ทำมาจากกลีบดอกไวโอเลต / Violet Petal
31.Danziger Goldwasser ทำมาจากยี่หร่า, สมุนไพร / Caraway, Herbs
32.Drambuie ทำมาจากน้ำผึ้ง, สก๊อต วิสกี้, สมุนไพร / Honey, Scotch Whisky, Herbs
33.Forbidden Fruit ทำมาจากลูกเกรพฟรุ๊ต, น้ำผึ้ง,ส้ม / Grapefruit, Honey, Orange
34.Frangelico ทำมาจากผลฮาเซล นัท / Hazel Nut
35.Frui Liqueur ทำมาจากผลไม้ตระกูลที่มีรสเปรี้ยว / Citrus Family
36.Galliano ทำมาจากชะเอม, วนิลา / Licorice, Vanilla
37.German Liqueur ทำมาจากสมุนไพร, ลูกพาสชั่นฟรุ๊ต, ฮาเซล นัท / Herbs, Passionfruit, Hazelnut
38.Ginger Liqueur ทำมาจากขิง / Ginger
39.Glayva ทำมาจากสมุนไพร, น้ำผึ้ง, ส้ม / Herbs, Honey, Orange
40.Goldschlager ทำมาจากอบเชย / Cinnamon
41.Gorny Dubnya ทำมาจากขิง, กานพลู, เหล้าวอดก้า / Ginger, Cloves, Vodka
42.Grand Marnier ทำมาจากส้ม, คอนญัค / Orange, Cognac
43.Grapefruit Liqueur ทำมาจากลูกเกรพฟรุ๊ต / Grapefruit
44.Homemade Liqueur ทำมาจากผลแอปพลิคอท, พีช, พลัม, ลูกสโล, แบล็คเบอร์รี่ / Apricot, Peach, Plum, Sloe, Blackberries
45.Irish Mist ทำมาจากน้ำผึ้ง, ไอริช วิสกี้, สมุนไพร / Honey, Irish Whisky, Herbs
46.Jagermeiser ทำมาจากสมุนไพร, เครื่องเทศ / Herbs, Spicies
47.Kirshwasser ทำมาจากเชอร์รี่, บรั่นดี / Cherry, Brandy
48.Kitron ทำมาจากเหล้าบรั่นดี, มะนาว / Grape Brandy, Lemon
49.Kahlua ทำมาจากกาแฟ / Coffee
50.Malibu ทำมาจากมะพร้าว / Coconut
51.Midori ทำมาจากแตง / Melon
52.Naussau Royal ทำมาจากเหล้ารัม, วนิลา / Rum, Vanilla
53.Noisette ทำมาจากฮาเซลนัท / Hazelnut
54.Ouzo ทำมาจากชะเอม / Locorice
55.Parfait Amour ทำมาจากผลไม้ตระกูลทีมีรสเปรี้ยว, ดอกไวโอเลต / Citrus, Violet
56.Peppermint Liqueur ทำมาจากสะระแหน่ / Mint
57.Peter Heering ทำมาจากเชอร์รี่ / Cherry
58.Piña Colada ทำมาจากมะพร้าว, สับปะรด, เหล้ารัม / Coconut, Pineapple, Rum
59.Rumpleminz ทำมาจากสะระแหน่ / Mint
60.Sambuca ทำมาจากชะเอม / Licorice
61.Sloe Gin ทำมาจากลูกสโล เบอร์รี่ / Sloeberry
62.Southern Comfort ทำมาจากพีช, น้ำผึ้ง, เหล้าเบอร์เบิน / Peach, Honey, Bourbon Whisky
63.Strega ทำมาจากชะเอม / Licorice
64.Tea Liqueur ทำมาจากเหล้าบรั่นดี, ชา / Brandy, Tea
65.Tia Maria ทำมาจากกาแฟ / coffee
66.Triple Sec ทำมาจากส้ม / Orange
67.Tuaca ทำมาจากมะพร้าว, คาราเมล บรั่นดี, ส้ม / Coconut,Caramel Brandy, Orange
68.Yukon Jack ทำมาจากพีช, น้ำผึ้ง, เหล้าแคนาเดี่ยน วิสกี้ / Peach, Honey, Canadian Whisky


Bartender จิตรกรแต่งแต้มสีสันบนเครื่องดื่ม

"บาร์เทนเดอร์" เป็นอาชีพหนึ่งที่น่าศึกษา ด้วยศาสตร์และศิลป์ที่มองดูไม่รู้จบ พวกเขาเหล่านั้น เป็นสัญลักษณ์ของรอยยิ้มและความผ่อนคลายนานัปการ ท่วงท่าที่เป็นมิตร และความเอาใจใส่ ดูแลลูกค้า นับเป็นเสน่ห์ที่บาร์เทนเดอร์ที่ดีควรจะมี Good evening, What would you like something to drink, sir? คำถามประจำ ที่บาร์เทนเดอร์มักเอ่ยถามลูกค้าที่นั่งหน้าเคาท์เตอร์

ในต่างประเทศเขาจะเรียกผู้ผสมเครื่องดื่มว่า "บาร์เทนเดอร์" (Bartender) โดยไม่มีคำว่า บาร์เทนดี้ หากแต่พี่น้องชาวไทยเราเท่านั้นที่นิยม เติมสระอี บนพยัญชนะสุดท้ายเพื่อบ่งบอกว่า "ผู้หญิง" คำที่ใช้แยกเพศจะเป็น Barman และ Barmaid เท่านั้นครับ ความหมายของ Barคือเครื่องกีดขวาง , แท่น , คอก บาร์เทนเดอร์ ทุกคนจึงต้องทำงานโดยมีขอบเขตบางสิ่งกั้นไว้ เครื่องดื่ม และสแนคก็จะวางบนแท่นบาร์เหล่านั้น ลูกค้าที่นิยมความสรวลเสเฮฮาส่วนมากจะนิยมการนั่งที่หน้าบาร์ เพราะต้องการจะหา เพื่อนคุย เพื่อผ่อนคลาย

อิริยาบท บาร์เทนเดอร์เองได้ทีก็จีบลูกค้าเลยก็มีครับ แต่ทั้งหมดก็เพื่อการสร้างบรรยากาศเท่านั้น อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ในบาร์ มีหลากหลายและใช้แตกต่างกันออกไป ซึ่งพอจะไล่เรียงได้ดังนี้ี้

1.Cocktail Shaker (ค็อกเทล เช็คเกอร์) กระบอกสำหรับเขย่าเหล้าผสม
2.Bar Spoon (ช้อนบาร์) ช้อนเล็ก เรียวด้ามยาวสำหรับใช้คนเครื่องดื่มผสม
3.Jigger (ที่ตวงเหล้า)
4.Mixing Glass (แก้วผสม) เป็นแก้วทรงกระบอกสำหรับการคนให้เข้ากัน ใช้เฉพาะค็อกเทลบางตัวเท่านั้น
5.Strainer (ที่กรองแยกน้ำแข็ง) แผ่นกรองที่ปิดข้างบน Mixing Glass อีกทีเพื่อสำหรับกรองเฉพาะน้ำ
6.Swizzle Stick, Stirrer (ไม้คนเหล้า) แท่งไม้ หรือพลาสติกใส่ลงในแก้วเหล้า เสริฟคู่กันไป
7.Cocktail Pick (ไม้เสียบผลไม้) ไม้แหลมเล็ก สำหรับเสียบผลไม้ประดับบนปากแก้ว
8.Straw (หลอดดูด)
9.Cutting Board (เขียง)
10.Fruit Knife (มีดผลไม้)
11.Ice Scoop (ที่ตักน้ำแข็ง)
12.Ice Pick (ที่ตีน้ำแข็ง) เหล็กแหลมเล็กสำหรับแทงให้น้ำแข็งที่เกาะเป็นก้อนใหญ่แตกออก
13.Ice Tong (คีมคีบน้ำแข็ง)
14.Ice Bowl (โถน้ำแข็ง)
15.Fruit Squeezer (ที่คั้นน้ำผลไม้)
16.Wine Cooler (ถังแช่ไวน์)
17.Wine Basket (ตะกร้าไวน์)
18.Pourer (จุกรินเหล้า) เป็นจุกปิดขวดที่มีรูเล็กเพื่อไว้รินเหล้าโดยเฉพาะ
19.Corkscrew (ที่เปิดไวน์)
20.Bottle Opener (ที่เปิดขวด)
21.Tin Opener (ที่เปิดกระป๋อง)
22.Empty Bottle (ขวดเปล่า)
23.Ashtray (ที่เขี่ยบุหรี่)
24.Coaster (ที่รองแก้ว)
25.Funnel (กรวย)
26.Water Pitcher (เหยือกน้ำ)
27.Blender (เครื่องปั่นน้ำผลไม้)
28.Salt and Pepper Shaker (ขวดเกลือ, ขวดพริกไท)
29.Stopper , Bottle Cap (จุกสำหรับปิดซอฟดริ้งค์ที่ใช้ไม่หมด) ใช้สำหรับปิดขวดน้ำอัดลมที่ใช้ไม่หมดปิดไว้ชั่วคราว
30.Melon Baller (ที่ตักผลไม้ให้กลม) สำหรับคว้านแตงโม แคนตาลูป หรืออื่นๆ ให้เป็นลูกกลมเพื่อการประดับตกแต่ง
31.Paper Napkin (กระดาษเช็ดปาก)
32.Cleaning Cloth (ผ้าเช็ดแก้ว)
33.Rag (ผ้าเช็ดทั่วไป)
34.Carbage Can (ถังขยะ)
35.Bloom (ไม้กวาด)
36.Mop (ไม้ถูพื้น)
37.Dust Pan (ที่ตักขยะ)
38.Vase (แจกันดอกไม้)
39.Sponge (ฟองน้ำสำหรับล้างแก้ว)
40.Liquid Dishwasher (น้ำยาล้างแก้ว)
41.Egg Beater (ที่ตีไข่)
42.Daily Sale Report (ใบรายงานขายประจำวัน) จะกล่าวในบทต่อๆไป
43.Parstock Control Sheet (บัญชีควบคุมเหล้า) จะกล่าวในบทต่อๆไป
44.Spoilage and Broken Report (ใบรายงานของเสียหรือแตก) จะกล่าวในบทต่อๆไป
45.Beverage Requisition (ใบเบิกเครื่องดื่ม) จะกล่าวในบทต่อๆไป
46.Food Requisition (ใบเบิกอาหาร) จะกล่าวในบทต่อๆไป
47.Store Requisition (ใบเบิกของใช้ทั่วไป) จะกล่าวในบทต่อๆไป
48.Bar / Kitchen Transfer (ใบยืมของบาร์ / ครัว) จะกล่าวในบทต่อๆไป
49.Bottle Sale Report (ใบรายงานการขายเป็นขวด) จะกล่าวในบทต่อๆไป
50.Captain Order (ใบสั่งของ เครื่องดื่ม - อาหาร) จะกล่าวในบทต่อๆไป
51.Drink List (รายการเครื่องดื่ม) จะกล่าวในบทต่อๆไป
52.Wine List (รายการไวน์) จะกล่าวในบทต่อ ๆ ไป
53.Folder (สมุดทอนเงิน) ใช้สำหรับใส่บิล หรือเงินทอนให้กับลูกค้า
การมองขวดเหล้าที่วางเรียงรายในชั้นโชว์เหล้าที่สว่างไสว หรือเพ่งมองไปในซอกเก็บเหล้าที่มืดทึมทึบ ล้วนสามารถเดาออกได้ถึงอุปนิสัย หรือความเข้าใจในวิชาชีพของผู้ดูแลบาร์ไม่ยากนัก ความสวยงามที่เรารับรู้ได้จากแสงไฟที่ส่องกระทบกับสีอำพันในขวดเหล้า ได้ถูกจัดเรียงอยู่ตามหมวดหมู่ หรือขวดเหล้าที่เรียงอัดในซอกเก็บของก็จะต้องจัดวางตามหมวดหมู ลำดับก่อนหลังทั้งสิ้น

หากบาร์เทนเดอร์คนใด ขาดซึ่งความรู้ที่จะแบ่งแยกกลุ่มเหล้านับพันขวดได้ ก็ไม่มีวันที่จะเป็นบาร์เทนเดอร์ที่ดีได้ เหล้าแต่ละขวดก็เหมือนคนที่ต้องมีครอบครัว มีบ้านเป็นของตนเอง มีเพื่อนบ้านที่คุยภาษาเดียวกัน ฉะนั้นจึงน่าเศร้ามาก หากท่านเก็บคอนญัคให้อยู่ในกลุ่มแชมเปญ หรือเก็บวอดก้า ให้อยู่ในกลุ่มเหล้าจิน เพราะนั่นก็จะเกิดความอ้างว้างและโดดเดี่ยวขึ้นในสังคมน้ำเมา และความห่อเหี่ยวหดหู่ ในชีวิตบาร์เทนเดอร์ของท่าน ก็จะตามมา






หน้าที่คนทำครัว เรื่องยากที่ดูเหมือนง่าย

บางคนที่กำลังคิดอยากเดินเข้าสู่อาชีพสาย พ่อครัว หรือกุ๊ก มาเรียนรู้การทำงานของเค้าดีกว่า ว่ากุ๊กทำงานอะไรบ้าง ?

กุ๊ก (Cook)
หรือที่ในต่างประเทศบางครั้งนิยมเรียกว่า Chef นั้นเป็นผู้ปรุงอาหาร
กุ๊กต่าง ๆ จะต้องเตรียมส่วนประกอบของอาหารหรือเครื่องปรุงต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะมาสั่ง เพื่อว่าเมื่อถึงเวลาจะได้ลงมือปรุงอาหารได้ทันเวลา การเตรียมการดังกล่าว ได้แก่ การหั่นผัก การเตรียมผักชี ใบมะกอก หรือผักอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับตกแต่งอาหารให้ดูน่ารับประทานขึ้น (Gamishes) ผักสลัด อาหารจำพวกที่ต้องต้มเปื่อย (Stews) เช่น เนื้อต้ม มันเทศหรือหัวหอมต้มเปื่อย ขนมเค็ก ขนมพุดดิ้ง (pudding) คือขนมที่ทำด้วยแป้งต้ม ยัดไส้ด้วยผลไม้ หรือของดองไว้ข้างใน ซ้อส และน้ำซุปต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ อาหารตามเมนูบางรายการก็สามารถทำไว้ล่วงหน้าด้วย โดยเฉพาะในสมัยนี้ซึ่งมีอุปกรณ์ทันสมัย อย่างไมโครเวฟที่สามารถอุ่นอาหารได้อย่างทันใจ อย่างไรก็ดี ก็มีอาหารบางอย่างที่ถ้าทำไว้ล่วงหน้าจะเสีย หรือหมดคุณค่าทางโภชนการหรือถ้าเก็บไว้ในที่ร้อน/อบ ก็จะขึ้นรา

กุ๊กทำงานกันเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยมีหัวหน้าหน่วยเป็นผู้ดูแล ซึ่งเรียกว่า เชฟ เดอ ปาร์ตีย์ (Chef de Partie) แต่จริง ๆ แล้วในทางปฏิบัติ กุ๊กแต่ละคนก็ทำงานในส่วนของตนไปโดยอิสระหรือต่างคนต่างทำโดยไม่ค่อยต้องควบคุมดูแลกันมาก กุ๊กคนหนึ่งอาจจะเตรียมผัก อีกคนเตรียมของหวานหรือปรับปรุงซ้อสต่าง ๆ งานที่กล่าวมาแล้วข้างต้นล้วนแต่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือหรือความชำนาญทั้งนั้น ซึ่งกุ๊กแต่ละคนก็ได้ผ่านการฝึกอบรมมา แล้ว อย่างไรก็ดี บางครั้งก็มีเรื่องใหม่ ๆ ที่ต้องเรียนรู้ เช่น อาหารรายการใหม่ หรือ มีการออกเมนูใหม่ หรือเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารเป็นแนวใหม่ เป็นต้น ซึ่งกุ๊กที่ เกี่ยวข้องก็ต้องมีการเรียนรู้หรือฝึกใหม่เหมือนกัน

หน้าที่งานของพนักงานแต่ละตำแหน่งในครัวจะเป็นดังนี้

1.กุ๊กใหญ่หรือหัวหน้าแผนกครัว (Head Chef or Executive Chef)
บุคคลที่ทำงานในตำแหน่งนี้ไม่ค่อยได้ลงมือทำอาหารเอง ในช่วงมื้ออาหารสำคัญ ๆ เช่น มื้อเที่ยงหรือมื้อเย็น กุ๊กใหญ่จะคอยดูแลควบคุมใบสั่งอาหารที่ส่งเข้ามา แผนกบริการซึ่งรับคำสั่งจากลูกค้าอีกต่อหนึ่ง แล้วตะโกนบอกรายละเอียดไปที่หน่วยต่าง ๆ ในครัว (ในโรงแรมใหญ่ ๆ ที่ทันสมัยในปัจจุบัน จะใช้ระบบสั่งอาหาร ทางคอมพิวเตอร์จากแผนกบริการไปที่ครัวเลยทีเดียว) จัดการงานด้านเอกสาร สั่งอาหารสด อาหารแห้ง และเครื่องปรุงต่าง ๆ ออกเมนู (รายการอาหาร) จัดตารางเวลาและหน้าที่งานสำหรับพนักงานแต่ละคน และดูแลควบคุมการทำงานของพนักงานทั้งหลายในครัว กล่าวโดยสรุปก็คือ ดูแลให้แผนกครัวดำเนินงาน ไปโดยราบรื่นนั่นเอง

นอกจากนี้ หัวหน้าแผนกครัวที่ดีจะต้องคอยตรวจสอบไม่ให้พนักงานใช้ของ แบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการสูญเปล่าโดยใช่เหตุ ดูแลให้ห้องครัวอยู่ในสภาพ ที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และอาหารที่ทำออกมามีคุณภาพและมาตรฐานสูง ความรับผิดชอบสำคัญประการหนึ่งของหน้าหน้าแผนกครัว ได้แก่ การฝึกอบรมพนักงาน โดยเฉพาะในภาวะที่ขาดแคลนบุคคลากรโรงแรมอย่างทุกวันนี้ที่มีคนเข้าออกมาก หัวหน้าแผนกจึงจำเป็นต้องเป็นครูที่ดีและสนใจเรื่องการสอนงานลูกน้อง มิฉะนั้น ตัวเองจะเหน็ดเหนื่อยมาก เพราะกุ๊กที่เป็นงานมักจะถูกดึงไปทำงานในโรงแรมอื่นด้วยข้อเสนอด้านค่าจ้างที่สูงกว่าอยู่ตลอดเวลา ความเป็นครูกับลูกศิษย์จะช่วยรักษา กุ๊กไว้ให้ทำงานอยู่กับตนเองไปได้อย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง

2.รองกุ๊กใหญ่หรือรองหัวหน้าแผนกครัว ( Second Chef or Sous Chef)
หน้าที่ก็เป็นไปตามชื่อตำแหน่ง คือ ช่วยกุ๊กใหญ่ในงานด้านต่าง ๆ หรือรักษาการ
แทนเมื่อกุ๊กใหญ่ไม่อยู่ งานหลัก ๆ ก็คือ การตรวจสอบว่าของต่าง ๆ ที่ต้องใช้ประกอบอาหารที่สั่งไว้นั้นมาครบหรือยัง และเช็คว่ากุ๊กหน่วยต่าง ๆ ในครัวรู้หรือไม่ ว่าจะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละมื้อแต่ละวัน หากเป็นครัวใหญ่ที่มีผู้ช่วยหัวหน้าแผนกครัวหลายคน บางคนก็อาจได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบแผนกในครัวเฉพาะ บางแผนกไปเลยก็ได้ เช่น รับผิดชอบเรื่องซ้อสต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับอาหารฝรั่ง เป็นต้น


3.หัวหน้าครัวหรือหัวหน้าหน่วยในครัว (Section Chef หรือ Chef de Partie)
ภายในครัวของโรงแรมหรือห้องอาหารขนาดใหญ่ จะแบ่งเป็นแผนกย่อยออกไป
มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการนั้น ๆ จึงมีหัวหน้ากุ๊กที่ดูแลรับผิดชอบเป็นแผนก ๆ ไป เรียกรวม ๆ ว่า Chef de Partie ชื่อแผนกและตำแหน่งต่าง ๆ ในครัวยังนิยมเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสเหมือนสมัยก่อน โดยเฉพาะในห้องอาหารหรือโรงแรมที่ผู้จัดการค่อนข้างจะอนุรักษ์นิยม แผนกต่าง ๆ ในครัวมีดังนี้
· หัวหน้าหน่วยผัก (The Vegetable Chef) หรือเรียกว่า Chef Entremettier (เชฟ ออง เตรอะเมดิเยอร์)
· หัวหน้าครัวขนมอบ (The Pastry Chef) เรียกว่า Chef Patissier ( เชฟ ปาติซิเยร์)
· หัวหน้าครัวอบ-ย่าง (The Rousseur Chef) เรียกว่า Chef Rotisseur (เชฟ โรติเซอร์)
· หัวหน้าครัวเย็นหรือหัวหน้าที่ดูแลห้องเก็บอาหาร (The Chef in charge of the larder or cold kitchen) เรียกว่า Chef Garde-manger (เชฟ การ์ด มองเซร์)
· หัวหน้าหน่วยปลา (The Fish Chef) เรียกว่า Chef Poissonnier (เชฟ ปัวซอง นิเยร์)
· หัวหน้าหน่วยซ้อส (The Sauce Chef) เรียกว่า Chef Saucier (เชฟ โซซิเยร์)


4.กุ๊กหมุนเวียน (Rellet Chef หรือ Chef Toumant)
กุ๊กหมุนเวียน หรือ เชฟ ตูร์น็อง มีหน้าที่ทำงานแทนหัวหน้ากุ๊กหน่วยต่าง ๆ ที่หยุด
งานไปด้วยสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พักร้อน ป่วย เป็นต้น เพราะฉะนั้น เชฟ ตูร์น็อง นี้จึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในงานของหลายครัวหรือหลายหน่วยในครัว แม้ว่าอาจจะไม่เก่งหมดทุกด้าน แต่สามารถรับงานได้โดยไม่ติดขัด


5.ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef)
คำว่า Commis ต้องอ่านว่า “คอมมี” เพราะเป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ใช่อ่านว่า
“คอมมิส” อย่างที่มีการออกเสียงกันผิด
“กอมมี” มีหน้าที่คอยช่วยงานของหัวหน้ากุ๊กในหลาย ๆ ด้าน แต่เป็นงานที่ไม่ต้องการความชำนิชำนาญอะไรเป็นพิเศษ


6.กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef)
นับว่าเป็นกุ๊กที่อาวุโสน้อยที่สุดในครัว มักจะเป็นพนักงานที่เพิ่งเข้างานไม่นาน ซึ่ง
เมื่อทำงานนานเข้า ได้รับการฝึกงานและมีประสบการณ์มากเข้า ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปตามลำดับชั้นของตำแหน่งในครัว




พนักงานจัดเลี้ยง ผู้อยู่เบื้องหลังงานเลี้ยงแสนสนุก

พนักงานจัดเลี้ยง เป็นงานบริการในสายงาน F&B ที่หลายคนใฝ่ฝัน ได้ทำงานในโรงแรม หรือภัตตาคารหรู ได้จัดงานเลี้ยงแสนสนุกให้ผู้คนได้มีความสุข ได้บริการอาหารและเครื่องดื่มให้แขกได้อิ่มอร่อย แต่ขึ้นชื่อว่างานบริการนั้นไม่ง่าย ต้องมีใจรักในงานบริการให้มากจึงจะทำงานนี้ได้ดี นอกจากนั้นยังต้องมีคุณสมบัติใดอีกบ้างที่เหมาะสมกับงานจัดเลี้ยง

1.แข็งแกร่ง ต้องยอมรับว่า ภาพงานเลี้ยงที่เห็นว่าสวยงามเพียงไม่กี่ชั่วโมงนั้น เบื้องหลังไม่ได้สวยงามเช่นนั้น กว่าจะออกมาเป็นงานเลี้ยงสักงานหนึ่ง แลกมาด้วยการเตรียมงานอย่างหนักและใช้เวลายาวนาน และเหนื่อยยิ่งขึ้นเมื่อเวลาจัดงานจริงมาถึง ทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ ให้บริการอย่างมืออาชีพ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจมากที่สุด คนที่แข็งแกร่งและไม่ย่อท้อจึงจะทำงานนี้ได้ดี
2.ตรงเวลา การเสิร์ฟอาหารตรงเวลาตามที่ลูกค้ากำหนด เป็นคุณลักษณะของมืออาชีพ หากคุณไม่ตรงเวลาปล่อยให้ลูกค้ารอ นั่นหมายถึงการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจในครั้งต่อ ๆ ไป ลูกค้ารายเดิมไม่เลือกใช้บริการของคุณอีก หากแขกในงานไม่ประทับใจก็ไม่คิดจะใช้บริการของคุณเช่นกัน
3.ฟังลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะต้องการคำแนะนำจากพนักงานจัดเลี้ยงมืออาชีพอย่างคุณ แต่ลูกค้าส่วนใหญ่มักมีไอเดียสำหรับงานเลี้ยงของตน ถามความคิดเห็นของลูกค้าว่าเขาต้องการให้งานออกมาในรูปแบบใด จากนั้นคือหน้าที่ของคุณที่จะสร้างสรรค์งานให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด
4.ใจเย็น คนทำงานบริการจัดเลี้ยงจำเป็นต้องจัดการกับความเครียดได้ดี เก็บอารมณ์ได้ดี อาจเจอลูกค้าจู้จี้จุกจิก ก็ต้องไม่แสดงอาการไม่พอใจออกมาทางสีหน้า วาจา หรือการกระทำใด ๆ ทั้งสิ้นต่อหน้าแขก
5.เป็นมิตร และยืดหยุ่น เมื่อถึงเวลาเสิร์ฟอาหาร แต่ลูกค้าขอให้เลื่อนการเสิร์ฟอาหารออกไปก่อน เพราะแขกคนสำคัญยังมาไม่ถึง คุณต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้โดยไม่หงุดหงิดอารมณ์เสีย ยังคงต้องมีรอยยิ้มให้ลูกค้าอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารไว้จนกว่าจะถึงเวลาเสิร์ฟได้


แผนกแม่บ้าน (House-Keeping หรือ Accommodation Service) มีการแบ่งตำแหน่งโดยทั่วไปดังนี้


1.หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper) ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านทั้งหมดจะขึ้นตรงกับผู้จัดการใหญ่ (General Manager) แต่บางโรงแรมหัวหน้าแม่บ้านก็ขึ้นตรงกับผู้จัดการส่วนหน้า (Front of House Manager) โดยงานหลักๆ ของหัวหน้าแผนกแม่บ้าน ได้แก่ การตรวจสอบงานส่วนต่างๆ ของแผนกว่าได้มาตรฐานที่วางไว้หรือไม่ ควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่าย จัดตารางเวลาการทำงานของพนักงาน และการฝึกอบรม อีกทั้งต้องรับผิดชอบเรื่องกุญแจต่างๆ ที่จะแจกจ่ายไปให้พนักงานในโรงแรม และดูแลควบคุมห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดเอง แต่บางโรงแรมก็จะมอบหมายให้หัวหน้าแม่บ้านอาวุโสคนใดคนหนึ่ง ในการทำงานเป็นหัวหน้าแผนกแม่บ้านต้องทำงานประสานอย่างใกล้ชิดกับแผนกต้อนรับส่วนหน้าที่เกี่ยวกับห้องพักที่พร้อมจะขาย(ให้เช่า) ได้ อีกทั้งต้องประสานงานกับแผนกซ่อมบำรุงเพื่อให้ช่วยซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะชำรุดเสียหายทั้งภายในห้องพักและบริเวนอื่นในโรงแรม
2.หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper) หัวหน้าแม่บ้านจะคอยดูแลตรวจตราการทำงานองผู้ช่วยแม่บ้าน หรือแม่บ้านประจำฟลอร์ 3 คนขึ้นไป ในกรณีเป็นโรงแรมขนาดเล็ก หัวหน้าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมด
3.แม่บ้านประจำฟลอร์หรือผู้ช่วยแม่บ้าน (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper) แม่บ้านประจำฟลอร์จะเป็นผู้ตรวจตราของพนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานดูแลห้องพัก (Cleaning Staff/Room Attendants) เฉพาะที่ทำงานอยู่ที่ฟลอร์ใดฟลอร์หนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโรงแรม ซึ่งรวมถึงห้องพักแขกทั้งแบบห้องมาตรฐานและห้องชุด ห้องพักพนักงาน ทางเดิน บันได ห้องน้ำใช้ร่วมในบริเวณโรงแรม ห้องนั่งเล่นเป็นต้น
4.พนักงานดูแลห้องพัก (Room Attendant) มีหน้าที่ทำความสะอาดและให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าพักของแขก เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องอาบน้ำ และห้องส้วม รวมถึงทางเดินหน้าห้องพักด้วย
5.พนักงานยกของ / ทำความสะอาด (Housekeeper) มีหน้าที่ยกหรือขนย้ายพวกเฟอร์นิเจอร์หนัก ๆ หรือนำขยะไปทิ้ง บางครั้งก็อาจรับผิดชอบด้านทำความสะอาดบริเวณใช้ร่วมภายในโรงแรมด้วย ในเมืองไทยชื่อตำแหน่งนี้จะไม่ค่อยได้พบ ชื่อตำแหน่งที่นิยมใช้กันคือ Cleaner
6.หัวหน้าห้องผ้า (Linen Room Supervisor) ต้องรับผิดชอบผ้าทุกชนิดที่ใช้ในห้องพักแขก (เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เป็นต้น )ผ้าของห้องอาหารและแผนกจัดเลี้ยง (ได้แก่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดปาก ผ้ารองถาด) และเครื่องแบบพนักงาน โดยการจ่ายผ้าที่ซักสะอาดแล้ว เก็บรวบรวมผ้าที่ใช้แล้ว ปะชุนผ้าที่ขาดและดูแลควบคุมการส่งผ้าไปซักที่แผนที่แผนกซักรีดและการรับคืนผ้าที่ซักแล้ว